Page 250 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 250

192 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

                          ทั้งนี้ให้ส านักงานจัดหางานทุกแห่งเป็นศูนย์กลางข้อมูลทางอาชีพและต าแหน่งงานส าหรับ
             ผู้สูงอายุ การให้ค าแนะน าปรึกษาและการจัดหางานส าหรับผู้สูงอายุ การอบรมทักษะอาชีพหรือฝึกอาชีพให้แก่
             ผู้สูงอายุตามอัธยาศัย การตั้งคณะกรรมการด าเนินการในกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะ การน าผู้สูงอายุที่มีความรู้

             ความสามารถมาเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมอาชีพ นอกจากนี้ยังส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุที่มีความรู้
             ความสามารถเป็นคณะอนุกรรมการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
                          การบัญญัติพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ประกอบประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
             ก าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนผู้สูงอายุในการประกอบ

             อาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม แม้จะเป็นกฎหมายที่มุ่งให้ความส าคัญต่อการจ้างงานผู้สูงอายุและส่งเสริมการ
             จ้างงานในประเทศไทยก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวเป็นเพียงหลักพื้นฐานในการคุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุน
             การประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสมส าหรับผู้สูงอายุอย่างกว้าง เท่านั้น มิได้มุ่งคุ้มครองการท างานใน
             ลักษณะการปฏิบัติงานและเป็นการให้ความคุ้มครอง ส าหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มิได้คุ้มครองแรงงาน

             สูงอายุตามความหมายของกฎหมายแรงงานคือ ลูกจ้างที่มีอายุระหว่าง 50-65 ปีอย่างแท้จริง

                          (2.2.5) กฎหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
                          เนื่องจากแรงงานสูงอายุถือเป็นกลุ่มลูกจ้างที่นายจ้างจะเลือกให้เลิกจ้างมากกว่าลูกจ้างในกลุ่ม

             อื่น เพราะนายจ้างมองว่าแรงงานสูงอายุเป็นแรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพในการท างาน มีก าลังในการผลิต
             ลดต่ าลง การท างานไม่ตรงเป้าหมายที่นายจ้างก าหนด จากปัญหาการเลิกจ้างที่นายจ้างมักจะเลือกเลิกจ้าง
             ผู้สูงอายุก่อน จึงมักมีข้อพิจารณาว่าการเลิกจ้างลูกจ้างสูงอายุด้วยเหตุอายุถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม
             มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่

                          การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา
             คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หมายถึง การเลิกจ้างใด ๆ โดยไม่มีสาเหตุหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือแม้จะมีสาเหตุอยู่
             บ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จ าเป็นหรือสมควรจนถึงกับต้องเลิกจ้างลูกจ้างนั้น รวมถึงการเลิกจ้างอันเป็นการขัดแย้ง
             ต่อความผูกพันอันเกิดจากการแสดงเจตนาของนายจ้างและลูกจ้าง ขัดแย้งต่อหลักแห่งการเลิกจ้างและเลิก

             สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่มุ่งคุ้มครองลูกจ้างซึ่งมี
                                                          229
             ฐานะด้อยกว่าและการเลิกจ้างที่ขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
                          โดยปกติการท าสัญญาระหว่างนายจ้างและลูกจ้างจะท าสัญญาใน 2 ลักษณะคือสัญญาจ้าง
             แรงงานที่มีก าหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน โดยอาจตกลงเป็นจ านวน วัน เดือน หรือปี หรือระยะเวลาใดถึง

             ระยะเวลาใด การตกลงกันอาจก าหนดเวลาการจ้างเป็นระยะเวลานานหรือสั้นก็ได้ โดยจะไม่เลิกสัญญากัน
             จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลานั้น และเมื่อครบก าหนดเวลาตามที่ตกลงกันแล้ว สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง
             โดยอัตโนมัติโดยไม่จ าต้องแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างต่อกันอีกและสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีก าหนดระยะเวลา
             การจ้างที่แน่นอน คือสัญญาที่นายจ้างและลูกจ้างไม่ได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าจะให้สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง

             เมื่อใด สัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาแก่กัน คู่สัญญาคือนายจ้างและลูกจ้าง หากต้องการ


                  229 จาก “การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม,” โดย สุรศักดิ์ มณีศร, 2527, วารสารนิติศาสตร์, 14(4), น. 92-134.
   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254   255