Page 248 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 248

190 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

             ลูกจ้าง นอกจากนี้ยังถือว่าสัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน คือ นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
             ต่อเมื่อลูกจ้างท างานให้เท่านั้น แต่ความเป็นจริงในทางปฏิบัติ สถานะของลูกจ้างและนายจ้างในการต่อรองท า
             สัญญาอยู่ในสภาพที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยนายจ้างอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบกว่าลูกจ้างในการต่อรองและการ

             ก าหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการท างาน ซึ่งนายจ้างย่อมจะหาช่องทางเพื่อไม่ให้ตนเสียเปรียบ ท าให้เกิดการเอารัด
             เอาเปรียบลูกจ้าง จึงอาจกล่าวได้ว่าหลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีความเหมาะสม
             ต่อสภาพเป็นจริง ที่ลูกจ้างมีสถานะทางเศรษฐกิจต่ ากว่านายจ้างและไม่อยู่ในฐานะที่จะต่อรองกับนายจ้างได้
             อย่างเท่าเทียมกัน จากปัญหานี้ส่งผลให้ในประเทศไทยมีการตรากฎหมายที่มีความเฉพาะในการคุ้มครอง

             แรงงานมากขึ้น ซึ่งจะกล่าวในประเด็นต่อไป

                          (2.2.2) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
                          เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

             กฎหมายคุ้มครองแรงงานนี้ เป็นกฎหมายที่ก าหนดมาตรฐานขั้นต่ าเกี่ยวกับการจ้างงานที่นายจ้างพึงปฏิบัติต่อ
             ลูกจ้างเพื่อให้ลูกจ้างท างานด้วยความปลอดภัย ได้รับค่าจ้างตอบแทนและมีหลักประกันการท างานที่เหมาะสม
             สามารถด ารงชีวิตในสังคมได้ในระดับหนึ่ง และเป็นกฎหมายที่มีแนวคิดเพื่อการสร้างเป็นธรรมในสังคมอันเกิด
             จากความไม่เท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง โดยคุ้มครองและอ านวยประโยชน์ให้แก่

             ลูกจ้างเนื่องจากมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่านายจ้าง ดังนั้นหลักการของกฎหมายดังกล่าวจึงมุ่งคุ้มครอง
             ลูกจ้างและให้สิทธิแก่ลูกจ้างมากกว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                          ปัจจุบันแรงงานสูงอายุถือเป็นแรงงานประเภทหนึ่งซึ่งอยู่ในตลาดแรงงาน แต่ตาม
             พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานนี้ไม่ได้บัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานสูงอายุไว้เป็นการเฉพาะ เหมือน

             การคุ้มครองแรงงานเด็กหรือการคุ้มครองแรงงานหญิง การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานสูงอายุ จึงเป็น
             การน าบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานโดยทั่วไปมาใช้บังคับเช่นเดียวกับแรงงานอื่น ๆ ซึ่งจาก
             สภาพความเป็นจริงของสังคมแล้วยังมีแรงงานสูงอายุในตลาดแรงงานอยู่เป็นจ านวนมาก ซึ่งผู้สูงอายุเป็นบุคคล
             ที่เปราะบางและมีลักษณะพิเศษเช่นเดียวกับเด็ก การน าบทบัญญัติอันมีลักษณะทั่วไปมาบังคับใช้กับแรงงาน

             ผู้สูงอายุ จึงอาจยังไม่สอดคล้องและเหมาะสมเท่าที่ควร

                          (2.2.3) พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2497
                          เป็นกฎหมายที่ให้หลักประกันและให้ความช่วยเหลือแก่คนสูงอายุ โดยมีการจัดตั้งหลักเกณฑ์

             การประกันกรณีชราภาพ ให้ผู้ที่ท างานและต้องเกษียณอายุจะได้รับเงินบ านาญเป็นค่าเลี้ยงชีพ แต่กฎหมาย
             ฉบับนี้ไม่มีผลบังคับใช้เนื่องจากขณะนั้นสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมไม่อ านวยให้น ากฎหมายนั้นมาใช้บังคับ
             ต่อมาภายหลังได้ออกพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกที่มีผลบังคับใช้เพื่อ
             เป็นหลักประกันและให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างสูงอายุที่ท างาน โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้มีเจตนารมณ์ในการ

             สร้างความมั่นคงและหลักประกันให้กับประชาชนที่ท างานและมีรายได้ประจ า โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างใน 7
             กรณี เช่น กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยมิใช้เนื่องจากการท างาน กรณีทุพพลภาพมิใช่เนื่องจากการท างาน
             กรณีตายมิใช่เนื่องจากการท างาน รวมไปถึงกรณีชราภาพด้วย
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253