Page 247 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 247
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 189
227
(2.1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้บัญญัติสิทธิและหน้าที่ของปวงชาวไทยซึ่ง
กล่าวถึงประเด็นการจ้างงานในผู้สูงอายุ ในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เป็นฉบับที่สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 2550 ได้มีการบัญญัติ
รับรองความสามารถของผู้สูงอายุไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ในมาตรา 40 บัญญัติไว้
ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การจ ากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระท ามิได้ เว้นแต่โดย
อาศัยอ านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงหรือเศรษฐกิจของประเทศ การแข่งขัน
อย่างเป็นธรรม การป้องกัน หรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดระเบียบการ
ประกอบอาชีพเพียงเท่าที่จ าเป็น หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น
การตรากฎหมายเพื่อจัดระเบียบการประกอบอาชีพตามวรรคสอง ต้องไม่มีลักษณะเป็นการ
เลือกปฏิบัติ หรือก้าวก่ายการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษา”และหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ ในมาตรา
74 บัญญัติไว้ว่า “รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการท างานอย่างเหมาะสมกับศักยภาพ และวัย
และให้มีงานท า และพึงคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดีในการท างาน ได้รับ
รายได้ สวัสดิการ การประกันสังคม และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การด ารงชีพ และพึงจัดให้มี หรือ
ส่งเสริมการออมเพื่อการด ารงชีพเมื่อพ้นวัยท างาน”
จากบัญญัติในการส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ข้างต้น จะเห็นได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวเขียนรับรองสิทธิในการประกอบอาชีพของบุคคลไว้อย่างกว้าง มิได้ระบุ
เป็นการเฉพาะถึงการการรับรองสิทธิของผู้สูงอายุแต่อย่างใด
(2.2) กฎหมายล าดับพระราชบัญญัติ
(2.2.1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การสนับสนุนและส่งเสริมในด้านการประกอบอาชีพได้ถูกล่าวถึงเป็นการทั่วไป ไว้ในประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 6 ในมาตรา 575-586 ได้บัญญัติถึงการจ้างแรงงาน โดยมีการ
บังคับใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2472 เป็นบทบัญญัติที่จะกล่าวถึงลักษณะและสาระส าคัญของสัญญาจ้างแรงงานที่ใช้
เป็นหลักในการจ้างแรงงาน การจ่ายสินจ้าง สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง การเลิกจ้าง และการระงับ
ข้อสัญญาจ้างแรงงาน แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการบัญญัติกฎหมายการจ้างแรงงานอย่างกว้าง ๆ ที่ใช้บังคับ
แก่นายจ้างและลูกจ้างทุกประเภท ทั้งในกิจการทั่วไป รัฐวิสาหกิจและลูกจ้างของทางราชการ มิได้กล่าวถึง
228
สิทธิของผู้สูงอายุในการมีงานท าไว้เป็นการเฉพาะแต่อย่างใด เนื่องจากในสัญญาจ้างแรงงานตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีพื้นฐานความคิดอยู่บนหลักของความเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาคือ นายจ้างและ
227 บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง สามารถพิจารณาได้ในตารางที่ 13 ตารางเปรียบเทียบสิทธิของผู้สูงอายุตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, พุทธศักราช 2550 และพุทธศักราช 2560.
228 จาก การด าเนินคดีในศาลแรงงาน (น. 13), โดย เกษมสันต์ วิลาวรรณ, 2537, กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.