Page 246 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 246
188 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
(1.1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
เป็นยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายการพัฒนาที่ส าคัญเพื่อพัฒนาคนทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็น
คนดี เก่งและมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะ
ที่ดีในทุกช่วงวัย
โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ ส่งเสริมให้มีการท างาน
หลังเกษียณ ผ่านการเสริมทักษะอาชีพในการหารายได้ มีการท างานที่เหมาะสมกับศักยภาพ มีการสร้างเสริม
สุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันโรคให้แก่ผู้สูงอายุ พร้อมกับจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และ
หลักประกันทางสังคมที่สอดคล้องกับความจ าเป็นในการด ารงชีวิต และการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในสังคม
(1.2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
เป็นยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายการพัฒนาที่ให้ความส าคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ
ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการ
ร่วมคิดร่วมท าเพื่อสังคมส่วนรวม มีการเตรียมความพร้อมของประชากรไทยทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม
และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชาชนที่มีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองและท าประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน
และสังคมได้นานที่สุด
โดยมีเป้าหมายรองรับสังคมสูงอายุอย่างมีคุณภาพ โดยมีการเตรียมความพร้อมในทุกมิติ ทั้ง
มิติเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพและสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการออมและการลงทุนระยะยาวของคนตั้งแต่ก่อน
เกษียณอายุ พัฒนาระบบและกลไกเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของประชากรให้สามารถปรับเปลี่ยนอาชีพให้
เหมาะสมตามแต่ละช่วงอายุ เพื่อยืดช่วงเวลาและเพิ่มโอกาสในการท างานในยามสูงอายุและสร้างหลักประกัน
ทางรายได้ให้แก่ตนเองได้นานขึ้น สร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนหรือสถานประกอบการในการเตรียมความพร้อม
ของแรงงานก่อนวัยเกษียณ การจ้างงานผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับวัยวุฒิ ประสบการณ์และสมรรถนะ ส่งเสริม
และสร้างแรงจูงใจให้ทุกภาคส่วนมีการจ้างงานผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับวัยวุฒิ ประสบการณ์และสมรรถนะ ร่วม
สร้างสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกันและเพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผู้สูงอายุ
(2) กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง
ผู้สูงอายุในยุคปัจจุบัน แตกต่างจากในอดีต ไม่ว่าจะเป็นด้านความสามารถหรือสมรรถนะของ
ร่างกายที่แข็งแรงและได้รับการรักษาที่มีคุณภาพอยู่เสมอ ท าให้ผู้สูงอายุสมัยใหม่ สามารถที่จะประกอบอาชีพ
ท ามาหาเลี้ยงตัวเอง โดยหลีกเลี่ยงที่จะเป็นภาระให้แก่ตนเองและสังคม ในขณะเดียวกัน กฎหมายได้พัฒนา
และมีบทบัญญัติรับรองส่งเสริมของผู้สูงอายุให้สามารถประกอบอาชีพได้ตามกฎหมาย อย่างสมศักดิ์ศรีของ
ความเป็นมนุษย์ และมีสิทธิจะรับสวัสดิการ การคุ้มครองต่าง ๆ จากรัฐ อันเนื่องมากจากท างานและประกอบ
อาชีพ ซึ่งมาตรการทางกฎหมายดังกล่าวได้ถูกก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายในล าดับพระราชบัญญัติ
กฎหมายล าดับรองและนโยบาย ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ ดังนี้