Page 245 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 245

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 187

                          การจ้างแรงงานสูงอายุได้กลายเป็นปัญหาสังคมในปัจจุบันและอนาคตของประเทศส่วนใหญ่

               ดังนั้นในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนนาดา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ จึงได้มีมาตรการทาง
               กฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานสูงอายุที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ รวมทั้ง
               ในประเทศไทยมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันและแก้ไขเยียวยาปัญหาการจ้างแรงงานผู้สูงอายุทั้งภาครัฐ
               และภาคเอกชน ซึ่งก่อนที่จะกล่าวถึงในส่วนของมาตรการทางกฎหมายนั้น จะอธิบายในส่วนของค านิยามค าว่า
               แรงงานสูงอายุ ดังนี้

                          ค าว่า แรงงานสูงอายุ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า aging workers หรือ older workers ซึ่งได้มีผู้
               อธิบายความหมายของแรงงานสูงอายุ ในทางการแพทย์ว่า หมายถึง ผู้ท างานที่มีอายุในช่วงเวลาของการ
               เปลี่ยนแปลงทางภายภาพและจิตใจอย่างมากซึ่งส่งผลเกี่ยวกับการท างานโดยเฉพาะในประเด็นสมรรถนะของ

               การท างาน ในตลอดช่วงอายุการท างานทั้งหมด ในมิติทางชีวอนามัยจึงได้ก าหนดเกณฑ์แรงงานสูงอายุ
                                        226
               คือ แรงงานที่มีอายุ 40-45 ปี ขึ้นไป
                          แรงงานสูงอายุ มีความหมายกว้างกว่าแรงงานที่เกษียณอายุ เพราะแรงงานเกษียณอายุ
               หมายถึง แรงงานที่พ้นจากการท างานเมื่อครบอายุที่ก าหนดไว้โดยกฎหมายหรือโดยข้อบังคับการท างานของ
               สถานประกอบการ หรือที่เรียกว่า การเกษียณภาคบังคับ (Mandatory retirement)  แต่หากยังคงท างานอยู่

               ต่อไปหรือกลับเข้ามาสู่ตลาดแรงงานอีก ย่อมถือว่าเป็นแรงงานสูงอายุ
                          ดังนั้นจึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า แรงงานสูงอายุ คือ แรงงานที่มิใช่แรงงานหนุ่มสาว แต่เป็น
               แรงงานที่พ้นวัยหนุ่มสาวแต่ยังอยู่ในตลาดแรงงาน ซึ่งรวมถึงแรงงานที่เกษียณอายุแล้วกลับมาสู่ตลาดแรงงาน

                          รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายและกลไกในการส่งเสริมการจ้างแรงงานสูงอายุ
               จะได้น าเสนอในหัวข้อต่อไปนี้

                         4.1.1.2 มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


                         (1) ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
                         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 ก าหนดให้รัฐพึงจัดให้มี
               ยุทธศาสตร์ชาติ อันเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อเป็นกรอบในการ

               จัดท าแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว  ซึ่ง
               ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2579 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งประกอบด้วย 6
               ยุทธศาสตร์ชาติ
                         ยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องและเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยมี

               สาระส าคัญที่ได้ก าหนดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการจ้างงานของผู้สูงอายุไว้ดังนี้





                    226 จาก “แรงงานสูงวัยและการคาดการณ์ผลกระทบจากการขยายก าหนดเกษียณอายุ” (น. 253-268), โดย เฉลิมพล
               แจ่มจันทร์ และสวรัย บุณยมานนท์, วารสารประชากรและสังคม, 2554.
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250