Page 244 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 244

186 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

                    4.1.1 การจ้างงาน
                         4.1.1.1 สถานการณ์
                         ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” จากการเพิ่มขึ้นของจ านวนและสัดส่วนประชากร

             การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปตามลักษณะของการเปลี่ยนผ่านประชากร (demographic transition) ที่เกิดขึ้นแล้ว
             หรือก าลังเกิดขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกลุ่มประเทศก าลังพัฒนาที่มี
             รายได้ระดับปานกลางรวมถึงประเทศไทย ผลจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ คุณภาพชีวิตของ
             ประชากรโดยรวมดีขึ้นและปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทาง

             สังคมในหลาย ๆ มิติภายใต้พลวัตของการพัฒนา ท าให้อายุคาดเฉลี่ย (life expectancy) ของประชากร
             ภายในประเทศมีแนวโน้มยืนยาวขึ้น ในขณะที่อัตราการเกิดของเด็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (fertility rate) กลับ
             อยู่ในระดับที่ต่ าลง ซึ่งเป็นสาเหตุส าคัญที่ท าให้โครงสร้างประชากรเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสัดส่วนประชากร
             สูงอายุที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรในวัยเด็กและประชากรในวัยท างาน

                        จากอายุคาดเฉลี่ยที่ยืนยาวและสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น สะท้อนศักยภาพในการท างานและดูแล
             ตนเองที่ดีมากขึ้นของประชากรวัย 60 ปี ขึ้นไปในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับประชากรในวัยเดียวกัน เมื่อ 40-50 ปีที่
             ผ่านมา ท าให้ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้และผลกระทบที่จะเกิดตามมาจากข้อเสนอในการก าหนดนิยาม
             ใหม่ของผู้สูงอายุ โดยการขยายเกณฑ์อายุใหม่เป็นที่ 65 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป อันเป็นเกณฑ์เดียวกับที่ใช้ในการ

             นิยามประชากรผู้สูงอายุในหลายประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงการเลื่อน “ก าหนดเกษียณอายุ” ไปเป็นเกณฑ์อายุ
             เดียวกัน กล่าวคือ ขยายช่วงอายุในการท างานของประชาการสูงวัยให้อยู่ในก าลังแรงงานและภาคการผลิตไป
             อีก 5 ปี เป็นประเด็นการศึกษาที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากสาธารณะ
                        ในประเด็นนี้ เนื่องจากก าลังแรงงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 62.3 ของประเทศไทย จากก าลัง

             แรงงานทั้งสิ้น 38.7 ล้านคน  อยู่ในภาคที่ไม่เป็นทางการหรือนอกระบบ รวมถึงลักษณะการจ้างงานในระบบ
             ภาคเอกชน ไม่ได้มีข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานหรือระบุก าหนดเกษียณอายุที่ชัดเจนว่าเป็นอายุเท่าใด ท าให้
             ก าหนดเกษียณอายุ ที่กล่าวถึง มักหมายความถึง ก าหนดเกษียณอายุราชการของข้าราชการและลูกจ้างใน
             ภาครัฐและพนักงานรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ตามหากมีการเลื่อนหรือขยายก าหนดเกษียณอายุราชการจากที่อายุ

             60 ปี ไปเป็นที่อายุ 65 ปี ผลสืบเนื่องที่เกิดย่อมกระทบต่อการจ้างงาน ตลาด และก าลังแรงงานโดยรวมของ
                                             225
             ประเทศ มิใช่เพียงในภาครัฐหรือภาคราชการ
                         การเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงวัยในการท างาน เป็นการสนองตอบเป้าหมายการปฏิรูปด้านสังคม
             รองรับการขยายตัวของ “สังคมสูงอายุ” (Aging Society) ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ เพื่อเป็นหลักประกัน

             ด้านรายได้ของผู้สูงอายุ เพราะแต่ละคนจะมีชีวิตอยู่นานขึ้นต้องมีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคนานขึ้นแต่รายได้
             จากการท างานลดลงหรือไม่มีเลย นอกจากนี้การที่ผู้สูงอายุท างานมากขึ้นหรือนานขึ้น เป็นการช่วยรักษาขนาด
             ก าลังแรงงานโดยรวมไม่ให้ลดลงจนเกิดความขาดแคลน





                  225 จาก แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2555 -2559 (ฉบับน าเสนอคณะรัฐมนตรี)
             (น. 18-19), โดย ส านักงานปลัดกระทรวงแรงงาน, 2554.
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249