Page 243 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 243

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 185

                                                   บทที่ 4

                            มาตรการและกลไกการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในประเทศไทย

                     มาตรการและกลไกการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในประเทศไทย เป็นการศึกษาทบทวนจากเอกสารที่
               เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุใน 3 ด้านหลักเพื่อเปรียบเทียบกับมาตรการสากลที่กล่าวไว้ใน

               สนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ได้ศึกษาทบทวนในบทที่ 2 โดยแยกประเด็นการศึกษา
               ออกเป็น 3 เรื่องส าคัญ คือ (1) การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุทางเศรษฐกิจ (2) การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ
               ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต และ (3) การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในกระบวนการยุติธรรม


               4.1 การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุทางเศรษฐกิจและสังคม

                     การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์และ
               การสาธารณสุขส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางประชาการ เนื่องจากอัตราการเกิดและอัตราการตายลดน้อยลง
               ในทางกลับกันอายุเฉลี่ยของประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในระยะเวลาอัน

               สั้น น าไปสู่สัดส่วนประชากรสูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้น และคาดการณ์ว่าสัดส่วนของประชากร
               สูงอายุนี้จะเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในปี 2564 ซึ่งประมาณการเป็นจ านวนประชากรสูงอายุ เท่ากับ 13.2 ล้านคน
               เพิ่มจากจ านวน 11 ล้านคนในปี 2559  สังคมผู้สูงอายุส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานของประเทศจากการที่
                                           223
               แรงงานสูงอายุต้องออกจากตลาดแรงงานภายใต้ระบบการเกษียณ ซึ่งประเทศไทยก าหนดการเกษียณภาค

               บังคับไว้ที่อายุ 60 ปี และในภาคการจ้างงานเอกชนที่บางส่วนไม่มีการก าหนดอายุเกษียณ แต่ใช้ธรรมเนียมการ
               ปฏิบัติไว้ที่ลูกจ้างอายุ 55 ปี ท าให้มีแรงงานที่อยู่นอกตลาดแรงงานที่มีระบบการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่
               อายุขัยของประชากรไทยยืนยาวขึ้น (ในปี 2561 เท่ากับ 75.5 ปี)  ท าให้มีชีวิตที่คาดว่าจะอยู่ไปอีกประมาณ
                                                             224
               ไม่ต่ ากว่า 15.5 ปี ความมั่นคงในช่วงชีวิตที่เหลือนี้จึงเป็นประเด็นส าคัญของผู้สูงอายุไทยในการด าเนินชีวิต

               อย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุเพื่อให้มีความ
               มั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม จึงเป็นนโยบายที่ส าคัญประการหนึ่งของภาครัฐ
                     การศึกษาในส่วนนี้ จึงจะเน้นประเด็นการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุไทยทางเศรษฐกิจและสังคม
               โดยเฉพาะปัญหาการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าว โดยจะศึกษาจากยุทธศาสตร์ มาตรการทาง

               กฎหมาย และกลไกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้หลักการสากลด้านสิทธิมนุษยชน ประเด็นย่อยเกี่ยวกับการ
               คุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม ได้ก าหนดไว้ทั้งสิ้น 3 ประเด็น ได้แก่ ป ร ะเด็นการจ้างงาน
               (4.1.1) ประเด็นการคุ้มครองทางสังคม (4.1.2) และประเด็นอาหารและที่อยู่อาศัย (4.1.3)



                    223 จาก สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2559, โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2560, บริษัท พริ้นเทอรี่ จ ากัด
               999 อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยมหิดล พฤศจิกายน 2560.
                    224 From THAILAND : LIFE EXPECTANCY, by World Life Expectancy, 2018, Retrieved from https://www.
               worldlifeexpectancy.com/thailand-life-expectancy
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248