Page 189 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 189
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 131
ถึงแม้จะมีการปรับปรุง the Age Discrimination in Employmnet Act เกิดขึ้น การเลือก
ปฏิบัติต่ออายุก็ไม่ได้หายไปจากก าลังแรงงานของสหรัฐ จากปี 1992 ถึงปี 2008 โดยเฉลี่ย ร้อยละ 15.79 ของ
กรณี ADEA จากกรณีทั้งหมด 44,624 กรณี ถูกเรียกว่า “merit resolutions” หรือกรณีที่เรียกร้องได้ส าเร็จ
โดย EEOC จ านวนดังกล่าวนี้เป็นเพียงจ านวนทางด้านต่ า เพราะว่า มีหลายกรณีที่มีการเลือกปฏิบัติต่ออายุ
ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายและกรณีของการเลือกปฏิบัติในการรับเข้าท างานก็ไม่มีการรายงาน
3.3.2.2 นัยยะส าคัญต่อการเสนอแนะการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุไทยด้านการจ้างงาน
จากการทบทวนการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในการจ้างงานของสหรัฐอเมริกา พบสาระส าคัญที่
สามารถน ามาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุไทยในด้านการจ้าง
งานได้ดังนี้
(1) สหรัฐอเมริกามีการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุผ่านกฎหมายสิทธิพลเมือง (1964) (Civil
Rights Act of 1964 และกฎหมายการเลือกปฏิบัติต่ออายุ (Age Discrimination in Employment Act) ซึ่ง
เป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุโดยเฉพาะในการจ้างงาน ท าให้ผู้สูงอายุได้รับความคุ้มครองผ่าน
กระบวนการศาลยุติธรรมในฐานะของพลเมืองและในฐานะคนท างานได้
(2) กระบวนการเปลี่ยนแปลงอายุเกษียณ จากการเกษียณภาคบังคับใช้เวลาแบบค่อยเป็นค่อยไป
เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างมีเวลาปรับตัว จนกระทั่งในปัจจุบัน ไม่มีการเกษียณภาคบังคับในระบบการจ้างงาน
(3) การมีข้อยกเว้นให้นายจ้างสามารถเลือกปฏิบัติต่ออายุได้ในกรณีของการก าหนดคุณสมบัติ
ทางอาชีพด้วยความสุจริตใจ (a “Bona Fide Occupational Qualification” หรือ BFOQ หรือศาลพิจารณา
ว่าเป็นกรณีของการเลือกปฏิบัติต่ออายุเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ
(4) การฟ้องร้องในกรณีการเลือกปฏิบัติต่ออายุนั้น มีกระบวนการขั้นตอนที่ผู้เสียหายสามารถ
ด าเนินการทั้งผ่านส านักงานรับผิดชอบระดับท้องถิ่น หรือระดับรัฐบาลกลาง หรือด าเนินการด้วยตนเอง ภายใน
ระยะเวลาที่ก าหนด และมีขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อการประนีประนอม
(5) หลักในการพิจารณาการเลือกปฏิบัติต่ออายุของศาล คือ กรณีผลกระทบที่ไม่เหมือนกัน
(Disparate impact cases) และ/หรือกรณีการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน (Disparate treatment cases) รวมทั้ง
การก าหนดมาตรฐานการทดสอบที่เหมาะสมส าหรับการพิจารณาการปฏิบัติทางกฎหมายที่มีผลกระทบอย่างสูง
ต่อผู้สูงอายุ ที่ว่าด้วย “ปัจจัยที่มีเหตุผลนอกเหนือจากอายุ” (the “reasonable factors other than age”
(RFOA) หรือ “ความจ าเป็นทางธุรกิจ” (a “business-necessity” test) รวมทั้งการก าหนดภาระพิสูจน์
ระหว่างโจทย์หรือจ าเลย