Page 188 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 188

130 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)


                       จากหลักฐานเชิงประจักษ์ พบว่า ในตอนแรก กฎหมายอาจจะมีผลกระทบทางบวกต่อการรับเข้า

             ท างานไม่มากเนื่องจากผลกระทบต่อประทัสถาน (social norms) เกี่ยวกับอายุ  กฎหมาย ADEA ได้ก าจัด
             ภาษาที่มีความล าเอียงต่ออายุในการโฆษณาอย่างเห็นได้ชัด และในสหรัฐ ก็ไม่มีธรรมเนียมในการใส่ข้อมูล
             เกี่ยวกับวันเดือนปีเกิดหรือสถานภาพทางครอบครัว (familial status) ในประวัติการท างานหรือบน
                                                                     155
             แผ่นปะหน้าในบันทึกและในประวัติการท างานอีกต่อไป การศึกษาของ Adams  พบว่าการประกาศใช้ ADEA
             ในปี 1967 มีผลทางบวกเล็กน้อยต่อการจ้างงานโดยรวมส าหรับคนงานสูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาอื่น ๆ
             ที่เสนอว่า ADEA อาจจะท าให้ประสิทธิภาพดีขึ้นระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวในบริษัทที่มีสัญญาจ้างงานระยะยาว
                       อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของ ADEA อาจจะไม่คงที่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป กฎหมายมีความเข้มงวด
             โดยการขยายและการเพิ่มการบังคับใช้ในปี 1978 และ 1979 มีการศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างใน

             สภาพแวดล้อมทางกฎหมายที่ผู้ทีอยู่ในมลรัฐที่มีกฎหมายการเลือกปฏิบัติต่ออายุในการฟ้องร้องค่าเสียหาย
             (to sue) ได้ง่ายกว่าผู้ทีอยู่ในมลรัฐที่ไม่มีกฎหมายการเลือกปฏิบัติต่ออายุ การศึกษานี้พบว่าผลทางลบที่ไม่ตั้งใจ
             ให้เกิดที่ตามมาของกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานผู้ชายสุงอายุ คือ ผู้ชายท างานน้อยลง 1.5 สัปดาห์ต่อปี
             ในมลรัฐที่สามารถฟ้องร้องได้หลังจากการบังคับใช้กฎหมายในปี 1978 ซึ่งน้อยกว่าผู้ชายในรัฐที่มีความ

             ยากล าบากกว่าในการฟ้องร้อง ผู้ชายจะมีโอกาสน้อยลงในการได้รับเข้าท างานและโอกาสน้อยลงที่จะถูกปลด
             ออกจากงานในมลรัฐเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า สถานประกอบการให้ความสนใจน าความเป็นไปได้เกี่ยวกับการ
             ฟ้องร้องคดีจากผู้สมัครสูงอายุไปใช้ในการพิจารณาตัดสินรับเข้าท างานและปลดออกจากงาน แต่ไม่มีผลกระทบ
             ทางลบต่อผู้หญิงในกลุ่มอายุเดียวกัน (กับผู้ชาย)

                       ในการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางตรงต่อการเปลี่ยนแปลงการเกษียณภาคบังคับ พบว่าก่อนมี
             กฎหมายว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่ออายุในปี 1960 แผนการจ่ายบ าเหน็จบ านาจที่จะได้รับท าให้การเกษียณ
             ล่าช้าออกไป แต่ในช่วงทศวรรษ 1980s แผนการจ่ายบ าเหน็จบ านาญของสหภาพแรงงาน (the 1980s union
             plans) ส่งเสริมอย่างแข็งขันในการเกษียณก่อนก าหนด (actively encourage early retirement) ในขณะที่

                                                                            156
             แผนการจ่ายที่ไม่ใช่ของสหภาพแรงงาน ท าให้การเกษียณล่าออกไป Von Wachter   ได้ศึกษาการขยับ
             การเกษียณภาคบังคับจากอายุ 70 ปี ในปี 1978 จนถึงช่วงยกเลิกในปี 1986 โดยการค านวณความเป็นไปได้
             พบว่า การมีส่วนร่วมในก าลังแรงงานของคนงานอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ถึง 20 ในปี 1986
                                                            157
             ในอุตสาหกรรมเฉพาะบางอุตสาหกรรม Ashenfelter and Card  แสดงให้เห็นว่าการยกเลิกการเกษียณของ
             อาจารย์ในมหาวิทยาลัยในปี 1994 ลดการเกษียณของผู้ทีมีอายุ 70 และ 71 ปี



                  155 From “Age Discrimination Legislation and the Employment of Older Workers,” by Scott J. Adams,
             2004, Labour Economics, 11(2), pp. 219-41.
                  156 From  “The  End  of  Mandatory  Retirement  in  the  US:  Effects  on  Retirement  and  Implicit
             Contracts,” by Til  von. Wachter,  2001,  the  Center for Labor  Economics Working  Paper. Berkeley,  CA:
             University of California.
                  157 From  “Did  the  Elimination  of  Mandatory  Retirement  Affect  Faculty  Retirement,”  by  Orley
             Ashenfelter, Card David, 2001, American Economic Review, 92(4), pp. 957-80.
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193