Page 186 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 186

128 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)


                       กฎหมาย ADEA มีความแตกต่างจากกฎหมายสิทธิพลเมือง ซึ่งอนุญาตให้ความเสียหายจากความ

             ทุกข์ทางจิตใจและค่าสินไหมทดแทน ส าหรับ ADEA จ ากัดค่าทดแทนแก่โจทย์ (ผู้ฟ้องร้อง) อย่างเต็มสถานภาพ
             (to “make whole” status) กล่าวคือ ค่าทดแทนแก่โจทย์ในระดับที่เขาควรจะได้รับถ้าไม่มีการเลือกปฏิบัติ
             ค่าทดแทนนี้ รวมถึงการรับเข้าท างาน (hiring) การไปด ารงต าแหน่ง (reinstating) การเลื่อนต าแหน่ง
             (promoting) การจ่ายเงินย้อนหลัง (Back pay) ผลประโยชน์ชดเชย (restoring benefits และการจ่าย

             ค่าธรรมเนียมทนาย ค่าธรรมเนียมทนายมักจะเป็นสัดส่วนใหญ่ของค่าทดแทนที่ให้กับผู้รับตาม ADEA
             เนื่องจากข้อจ ากัดต่อความเสียหาย โจทย์ส่วนใหญ่ภายใต้ ADEA มักจะเป็นผู้จัดการระดับกลางผิวขาวในช่วง
             อายุ 50 ปีผู้ซึ่งสูญเสียเงินเดือนและผลประโยชน์ก้อนใหญ่ ในมุมมองของนายจ้างหรือสถานประกอบการ ถ้าค่า
             ลงโทษหรือค่าปรับไม่สูงเพียงพอ ก็อาจจะตัดสินจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ ไม่สนใจ/ละเลยกฎหมายนี้และจ่าย

             ค่าปรับตามที่เกิดขึ้นแทน อย่างไรก็ดี ผลกระทบที่สะท้อนกลับมาจากผู้บริโภคจากกรณีการเลือกปฏิบัติที่ได้รับ
             การเผยแพร่ออกไป อาจท าเป็นแรงกดดันทางสังคมให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย


                       (2) การตีความทางกฎหมาย
                       เนื่องจาก ADEA ให้สิทธิในการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนในการเลือกปฏิบัติต่ออายุในการจ้างงาน
             การตัดสินจึงขึ้นอยู่กับการตีความทางกฎหมายของศาล ซึ่งศาลจะพิจารณาตัดสินอย่างไรขึ้นอยู่กับ กรณี
             ผลกระทบที่ไม่เหมือนกัน (Disparate impact cases) จะได้รับการยอมรับหรือไม่นอกเหนือจากกรณีการ
             ปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน (Disparate treatment cases) ในขณะที่กรณีการปฏิบัติที่แตกต่างกันต้องเป็นการเลือก

             ปฏิบัติที่จงใจ/ตั้งใจ (ถ้าเป็นไปโดยสุจริตใจ ก็ไม่เป็นปัญหา) ในกรณีผลกระทบที่แตกต่าง หมายถึง นโยบายที่
             นายจ้างก าหนดขึ้นสามารถส่งผลกระทบทางอ้อมต่อกลุ่มที่ได้รับความคุ้มครองอย่างแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับ
             ความคุ้มครอง ตัวอย่างของนโยบายที่ส่งผลกระทบที่แตกต่าง ได้แก่ การก าหนดความสูงขั้นต่ าที่มีผลกระทบที่
             แตกต่างต่อผู้หญิง ผู้ที่โดยเฉลี่ยแล้วเตี้ยกว่าผู้ชาย ส าหรับอายุ ผลกระทบที่แตกต่างมักจะเกี่ยวข้องกับการ

             ตัดสินใจบนฐานของอายุการท างาน (Seniority) หรือ ค่าจ้าง เช่นการตัดสินใจปลดคนงานที่มีรายได้สูงสุด หรือ
             ผู้ที่อยู่ท างานกับสถานประกอบการนานที่สุด ศาลสูงของสหรัฐได้ติดสินบนฐานของกฎหมายที่ว่า ADEA
             ก าหนดให้มีการจ่ายค่าทดแทนส าหรับการเรียกร้องผลกระทบที่แตกต่างจากการเลือกปฏิบัติ ศาลยังตัดสิน
             เกี่ยวกับมาตรฐานส าหรับการพิจารณาการปฏิบัติทางกฎหมายที่มีผลกระทบอย่างสูงต่อผู้สูงอายุว่าการทดสอบ

             ด้วย “ปัจจัยที่มีเหตุผลนอกเหนือจากอายุ” (the “reasonable factors other than age” (RFOA) มากกว่า
             การทดสอบด้วย “ความจ าเป็นทางธุรกิจ” (a “business-necessity” test) เป็นมาตรฐานที่เหมาะสม การติด
             สินนี้แตกต่างจากการตัดสินก่อนหน้าว่าการปฏิบัติในการจ้างงานที่มีผลกระทบที่แตกต่างต่อบุคคลภายในกลุ่ม
             อายุที่ได้รับการคุ้มครอง ไม่สามารถเป็น “ปัจจัยที่มีเหตุผลนอกเหนือจากอายุ (a reasonable factor other

             than age)” นอกจากว่าเป็นเหตุผลจาก “ความจ าเป็นทางธุรกิจ (justified as a business necessity)”
                       ในการตีความทางกฎหมายประเด็นที่สอง คือ ใครเป็นผู้รับภาระพิสูจน์ในกรณีผลกระทบที่
             แตกต่าง โดยทั่วไป ค าถามนี้ ตีความได้ว่า โจทย์ต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ว่านโยบายมีความล าเอียงโดยตั้งใจ หรือ
             ฝ่ายจ าเลยจะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ว่านโยบายมีเหตุผลทางธุรกิจโดยสุจริตใจ ภาระพิสูจน์นี้ได้ถูกเปลี่ยนไปจาก
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191