Page 56 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 56

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  55






               ตามมาตรา 14 กรณีที่สอง การใช้มาตรการหลายอย่างเป็นอิสระจากกัน เช่น การปิดกั้นเนื้อหาที่ขัดต่อ
               ความสงบฯ ตามมาตรา 20 วรรคสอง โดยไม่มีการลงโทษผู้เผยแพร่ เนื่องจากยังไม่ใช่เนื้อหาที่ถึงขั้นเป็นความผิด

               กฎหมาย เป็นต้น หากนำาเกณฑ์ทางเลือกอื่นมาประเมินมาตรการตามพระราชบัญญัตินี้ อาจชั่งนำ้าหนักทางเลือก

               ได้สามระดับ ดังนี้
                        ระดับที่หนึ่ง การชั่งน�้าหนักทางเลือกอื่นส�าหรับมาตรการหลายอย่างในกฎหมายฉบับเดียวกัน

               นอกจากการกำาหนดหลายมาตรการไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งอาจใช้ร่วมหรือประกอบกันได้ดังกล่าวมาแล้ว

               ยังมีอีกหลายทางเลือกเพื่อการควบคุมเนื้อหา เช่น (1) กำาหนดเฉพาะมาตรการแจ้งเตือนและระงับตามมาตรา 15
               มาตรการนี้เปิดโอกาสให้แจ้งเตือนเนื้อหาเป็นรายกรณีไป อันเป็นมาตรการที่จำากัดเสรีภาพน้อยกว่าการกำาหนด

               โทษอาญา และจำากัดเสรีภาพน้อยกว่าการให้อำานาจรัฐสั่งระงับเนื้อหาได้อย่างกว้างตามมาตรา 20 ทางเลือกนี้
               เทียบเคียงได้กับ กรณีกฎหมายโทรคมนาคมสหรัฐอเมริกา มีหลักการควบคุมเนื้อหาเพี่อคุ้มครองเด็ก สองมาตรา

               คือ มาตรา 505 ห้ามผู้ให้บริการเคเบิลทีวีเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำาหรับเด็กในบางช่วงเวลา

               และมาตรา 504 กำาหนดให้ผู้ให้บริการปิดกั้นเนื้อหาเมื่อมีคำาร้องจากผู้ใช้บริการ ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาใช้
               หลักทางเลือกอื่นมาประกอบการชั่งนำ้าหนักและตัดสินว่า มาตรา 505 เป็นมาตรการที่จำากัดเสรีภาพมากไป

               โดยในกฎหมายนี้มีมาตรา 504 ซึ่งเป็นมาตรการที่จำากัดเสรีภาพน้อยกว่า เพื่อมุ่งไปสู่ผลในการคุ้มครองเด็ก
               เช่นเดียวกัน ดังนั้น มาตรา 505 จึงขัดรัฐธรรมนูญ  (2) การกำาหนดเฉพาะมาตรการระงับเนื้อหาตามมาตรา 20
                                                   47
               โดยไม่กำาหนดโทษอาญาแก่ผู้เผยแพร่ส่งต่อที่เป็นเพียงผู้ใช้งานทั่วไป (3) การกำาหนดมาตรการหลายอย่าง

               ในลักษณะให้สามารถเลือกใช้อย่างหนึ่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ใช้มาตรการหลายอย่างกับเนื้อหาข้อมูลเดียวกัน
                        ระดับที่สอง การชั่งน�้าหนักระหว่างการก�าหนดโทษอาญาและการระงับเนื้อหากับการควบคุม

               เนื้อหาโดยจัดประเภท ในภาพรวมของการควบคุมเนื้อหาข้อมูล มาตรการจำาแนกประเภท (Classification)

               เช่น การจัดเรตติ้งนั้นส่งผลกระทบในทางจำากัดสิทธิน้อยกว่า การระงับเนื้อหาหรือเซ็นเซอร์ นอกจากนี้ ยังสะท้อน
               แนวคิดการคุ้มครองผู้บริโภคโดยให้ทางเลือกที่ผู้บริโภคตัดสินใจโดยรู้ข้อมูล (Informed choice)  ดังนั้น ระบบ
                                                                                    48
               จำาแนกหรือจัดประเภทเพื่อการควบคุมเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต จึงอาจพิจารณาว่าเป็นมาตรการทางเลือกอื่น

               ที่จำากัดสิทธิน้อยกว่าการเซ็นเซอร์หรือห้ามเผยแพร่เนื้อหาโดยเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัตินี้ใช้มาตรการ
               ในลักษณะเซ็นเซอร์แทนที่จะเลือกการควบคุมแบบจัดประเภท อีกทั้ง  ยังมีมาตรการกำาหนดโทษอาญาร่วมด้วย

               จึงเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ทางเลือกอื่นและการจำากัดสิทธิน้อยที่สุด


                          47      From United States v. Playboy Entertainment Group, 529 U.S. 803 (2000).
                          48        From Censorship in Australia: regulating the internet and other recent developments
               (p. 3), by Gareth Griffith, 2002, Sydney: Parliament of New South Wales.  Retrieved from https://www.
               parliament.nsw.gov.au/researchpapers/Documents/censorship-in-australia-regulating-the-internet-/04-02.
               pdf
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61