Page 60 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 60
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561) 59
อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของไทย ให้ความสำาคัญ
กับความจริงหรือเท็จของข้อมูล ดังจะเห็นได้จาก องค์ประกอบความผิด “ปลอม เท็จ บิดเบือน” ในมาตรา 14 (1)
และ “เท็จ” ในมาตรา 14 (2) จากหลักกฎหมายประกอบกับการตีความและการสื่อสารในเชิงนโยบายรัฐ ส่งผล
57
ในลักษณะเหมารวม (Generalization) ว่าการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเป็นความผิด หากเปรียบเทียบกับแนวคำาพิพากษา
ศาลต่างประเทศ ผู้เขียนเห็นว่า ควรแยกการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเป็นสองกรณี คือ กรณีที่หนึ่ง การเผยแพร่ข้อมูล
เท็จ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้อื่นทราบถึงการมีอยู่ของข้อมูลดังกล่าวอันนำาไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์และตรวจสอบ
ถึงความถูกต้องแท้จริงของข้อมูลนั้นต่อไป หรือเป็นการแจ้งให้ผู้อื่นทราบว่าข้อมูลนั้นเป็นเท็จ กรณีนี้จัดเป็น
การกระทำาที่นำาไปสู่กระบวนการคัดกรองข้อมูลของสาธารณะในสังคมประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง กรณีที่สอง การเผยแพร่
ข้อมูลเท็จโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหลอกลวงผู้อื่น หรือนำาไปใช้แสวงประโยชน์ เช่น การฉ้อโกงประชาชน
ในลักษณะแผนหลอกลวง (Scamming) เมื่อพิจารณาฐานความผิดตามมาตรา 14 จะเห็นได้ว่า กรณีที่เข้า
องค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายในของมาตรา 14 คือ กรณีที่สอง สำาหรับกรณีที่หนึ่ง อาจเกี่ยวกับ
มาตรา 14 (1) และ (2) โดยทั้งสองอนุมาตราไม่ได้กำาหนดองค์ประกอบเกี่ยวกับเจตนาพิเศษหรือมูลเหตุจูงใจไว้
ดังนั้น หากผู้กระทำามีเจตนาธรรมดา คือ ทราบถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด โดยรู้ว่าข้อมูลนั้น
เป็นเท็จ ก็สามารถเข้าองค์ประกอบความผิดได้ ทำาให้มีโอกาสที่ผู้เผยแพร่เนื้อหาดังกล่าวจะถูกตั้งข้อหาในชั้น
สอบสวนซึ่งกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ หากเทียบกับคำาพิพากษาศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปข้างต้นจะพบว่า กฎหมาย
ที่กำาหนดความผิดสำาหรับพฤติกรรมกรณีที่หนึ่ง กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า
ความกว้างขององค์ประกอบความผิดและการให้นำ้าหนักกับปัจจัยด้านความจริงหรือเท็จของข้อมูล ทำาให้
ฐานความผิดหลายมาตราส่งผลจำากัดการเผยแพร่ข้อมูลเท็จโดยเหมารวม อันเป็นการจำากัดเสรีภาพในการวิพากษ์
วิจารณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเท็จ
6 ผลกระทบ “Chilling effect”
หลักกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์สิทธิมนุษยชน นอกจากส่งผลกระทบทางตรงต่อการแสดง
ความคิดเห็นโดยตรง เช่น ลงโทษจำาคุกผู้เผยแพร่เนื้อหา ระงับการทำาให้แพร่หลายหรือเซ็นเซอร์เนื้อหา
แล้วยังส่งผลให้เกิดผลกระทบในทางอ้อมได้ ตัวอย่างเช่น องค์ประกอบความผิดที่กว้างและคลุมเครือ (Overbroad
57 เช่น การสื่อสารข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐต่อสาธารณะให้ทำาการ “เช็คก่อนแชร์” ทำาให้เกิด
การรับรู้ของประชาชนว่า การเผยแพร่ข้อมูลเท็จเป็นสิ่งชั่วร้ายหรือเป็นอาชญากรรมในตัวเอง หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการสร้าง
หน้าที่ ตรวจสอบข้อมูล แต่ในอีกแง่หนึ่ง การแชร์ “ข้อมูลเท็จ” ให้สังคมรับรู้ ก็เป็นวิธีการหนึ่งของการตรวจสอบข้อมูล
เพื่อประกอบการแสดงความคิดเห็นต่อไป