Page 58 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 58
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561) 57
การปกป้องประโยชน์อย่างกว้างหรือในเชิงคาดการณ์ เช่น ต้องมีหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้
ว่า เนื้อหาสื่อลามกเด็กส่งผลกระทบอย่างไรต่ออารมณ์หรือจิตใจเด็ก เป็นต้น หลักการนี้ปรากฏในคำาพิพากษา
ศาลสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น ในคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายมลรัฐแคลิฟอร์เนียที่ควบคุม
เกมส์ที่มีเนื้อหาความรุนแรง ศาลพิจารณาถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างเนื้อหาเกมส์ที่มีเนื้อหารุนแรง
กับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็ก และตัดสินว่าประโยชน์ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองในกรณีนี้คือ ความปลอดภัยของเด็ก
52
ที่จะถูกกระทบจากอันตราย ซึ่งจะต้องมีอยู่จริงมิใช่เพียงแต่การคาดคะเน ดังนั้น การบัญญัติกฎหมายควบคุม
เกมส์ที่มีเนื้อหาความรุนแรง ต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า เกมส์ดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงของเด็ก
ซึ่งฝ่ายรัฐบาลไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน ศาลจึงเห็นว่า กฎหมายนี้อ้างภัยต่อเด็กในลักษณะคาดการณ์เท่านั้น
53
และขัดต่อรัฐธรรมนูญ แนวทางนี้คล้ายคลึงกับศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ซึ่งเน้นยำ้าว่า แม้กฎหมายที่จำากัดการแสดง
ความคิดเห็นจะเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์โดยชอบ ในการปกป้องประโยชน์สำาคัญอันระบุในอนุสัญญาสิทธิมนุษยชน
ยุโรป เช่น เพื่อการรักษาความมั่นคง ฯลฯ แต่ศาลจะต้องพิจารณาว่า การแสดงความคิดเห็นที่ถูกจำากัดนั้นจะต้อง
54
ส่งผลกระทบจริงต่อประโยชน์ดังกล่าว มิใช่เป็นเพียงความคิดการณ์หรือความเป็นไปได้เท่านั้น
เมื่อนำาเกณฑ์นี้มาพิจารณา หลักกฎหมายควบคุมเนื้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำา
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จะพบแนวโน้มความไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ย่อยทั้งสองประการ เช่น ประโยชน์
ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองของความผิดมาตรา 14 (2) คือ ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน
ความปลอดภัยสาธารณะ ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นประโยชน์สำาคัญ แต่เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่าง
“ข้อมูลเท็จ” ซึ่งเป็นเนื้อหาที่กฎหมายกำาหนดให้เป็นความผิดอาญากับความมั่นคงของประเทศ ฯลฯ แล้ว
ไม่ปรากฏหลักฐานเชิงประจักษ์หรือข้อพิสูจน์ถึงอันตรายอย่างชัดเจนและมีอยู่จริงของเนื้อหาข้อมูลเท็จ
ต่อความมั่นคงของประเทศ ฯลฯ หากเปรียบเทียบกับภัยคุกคามต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การก่อการร้าย
ไซเบอร์โดยใช้มัลแวร์ อาจมีหลักฐานเชิงประจักษ์หรือข้อพิสูจน์ทางวิชาการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างภัยคุกคาม
จากมัลแวร์กับความปลอดภัยของสาธารณะ แต่ยากที่จะพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการโพสต์เนื้อหา
ข้อมูลเท็จกับ “ความปลอดภัยของสาธารณะ” หรือในกรณี “ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ซึ่งแม้จัดเป็น
52 From Video Software Dealers Ass’n, et al. v. Schwarzenegger, et al., 2007 U.S. Dist.
LEXIS 57472 (N.D. Cal. 2007).
53 From Brown v. Entertainment Merchants Association, 564 U.S. 786 (2011).
54 From Protecting the right to freedom of expression under the European convention
on human rights : A handbook for legal practitioners (p. 43), by Dominika Bychawska-Siniarska, 2017,
Strasbourg : Council of Europe. Retrieved from https://rm.coe.int/handbook-freedom-of-expression-
eng/1680732814