Page 53 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 53
52 วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
แนวคิดนี้สอดคล้องกับอนุสัญญาอาชญากรรมไซเบอร์ที่กำาหนดความผิดเนื้อหาเฉพาะสื่อลามกเด็ก เมื่อเปรียบ
เทียบกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก่อนและหลังการแก้ไขในปี 2560
จะพบการขยายตัวของขอบเขตเนื้อหา ซึ่งแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง เนื้อหาผิดกฎหมาย (Illegal content)
กล่าวคือ ผู้นำาเข้าสู่ระบบ หรือเผยแพร่ส่งต่อจะมีโทษอาญา ซึ่งมีขอบเขตกว้างครอบคลุมทั้งสื่อลามกเด็ก
และผู้ใหญ่ (มาตรา 14 (4)) อีกทั้งเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงฯ ในหลายมิติ ทั้งความมั่นคงของรัฐ เศรษฐกิจ สังคม
(มาตรา 14 (2)) กลุ่มที่สอง เนื้อหาที่ถูกควบคุม กล่าวคือ กฎหมายไม่ได้กำาหนดความผิดสำาหรับผู้นำาเข้าสู่ระบบ
หรือส่งต่อ แต่กำาหนดเฉพาะมาตรการระงับการเผยแพร่เนื้อหา เช่น ข้อมูลที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
และศีลธรรมอันดี (มาตรา 20 วรรคสอง) ซึ่งมีความหมายกว้าง ดังนั้น ขอบเขตเนื้อหาข้อมูลคอมพิวเตอร์
ที่ถูกควบคุมหรือจำากัดตามพระราชบัญญัตินี้จึงมีแนวโน้มไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ข้อนี้หรือมีขอบเขตกว้างเกินไป
ระดับที่สอง คว�มกว้�งในระดับองค์ประกอบคว�มผิด (Element of offence)
องค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเนื้อหาตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีลักษณะกว้าง เช่น มาตรา 14 (1)
กำาหนดเจตนาพิเศษไว้ถึงสองประการ กล่าวคือ “โดยทุจริต” ซึ่งมีนิยามตามกฎหมายอาญาและสอดคล้อง
กับการกำาหนดความผิดฐานฉ้อโกงคอมพิวเตอร์ และ “โดยหลอกลวง” ซึ่งไม่มีนิยามตามกฎหมายอาญา
และมีความหมายกว้าง โดยไม่จำาต้องเกี่ยวข้องกับการแสวงประโยชน์โดยมิชอบก็ได้ ทำาให้มาตรา 14 (1) กว้างกว่า
38
การฉ้อโกงคอมพิวเตอร์ตามแนวทางอนุสัญญาอาชญากรรมไซเบอร์ นอกจากนี้ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
รวมถึง “การยึดถือความคิดเห็น” (Hold opinion) ตามแนวทางของอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป การที่รัฐ
ปลูกฝังแนวคิด (Indoctrinate) หรือ นำาเสนอเฉพาะเนื้อหาข้อมูลด้านเดียว (One-sided information) จัดเป็น
39
การล่วงละเมิดเสรีภาพนี้ แต่มาตรา 14 (1) กำาหนดองค์ประกอบความผิดสำาหรับเนื้อหา “เท็จ บิดเบือน”
ไว้อย่างกว้าง เปิดโอกาสให้มีการนำาไปใช้ฟ้องร้องผู้สื่อสารข้อมูลอันมีเนื้อหาแตกต่างจากข้อมูลที่ภาครัฐ
เป็นฝ่ายนำาเสนอ จึงกระทบต่อการแสดงความคิดเห็นได้ นอกจากนั้น ในส่วนองค์ประกอบด้านพฤติการณ์ประกอบ
38 From The application of the Computer-related Crime Act (No.2) B.E. 2560 (2017) to
protect children in the digital age from being a victim of cyber-grooming : to the case of “Phishing”,
th
2018, by Kanathip Thongraweewong, In Conference proceedings at The 9 International Science, Social
Science, Engineering and Energy Conference (I-SEEC 2018), Bangkok: Kasem Bundit University. Retrieved
from https://iseec2018.kbu.ac.th/e-Proceeding/proceeding_docs/Proceeding-Track-II-SocialScience/
v2/54-Social_ 180223180193_Kanathip.pdf
39 From Protecting the right to freedom of expression under the European convention
on human rights : A handbook for legal practitioners (p. 13), by Dominika Bychawska-Siniarska, 2017,
Strasbourg : Council of Europe. Retrieved from https://rm.coe.int/handbook-freedom-of-expres-
sion-eng/1680732814