Page 52 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 52

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  51






                        กรณีกฎหมายเกี่ยวกับการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม (Communication Decency Act : CDA)
               ศาลเห็นว่า แม้เนื้อหาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่กฎหมายนี้ควบคุมจะมีขอบเขตจำากัดเฉพาะข้อมูลอันลามก แต่ประเด็น

               ที่ว่าเนื้อหานั้นเป็นลามกหรือไม่นั้น ตามกฎหมายนี้พิจารณาจากความเหมาะสมของการรับรู้ของผู้เยาว์ ส่งผลให้

               ผู้ใหญ่ถูกจำากัดการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวไปด้วย ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นการ “...ลดระดับการรับรู้ข้อมูลของผู้ใหญ่ลง
               ให้เข้าถึงเนื้อหาเฉพาะที่เหมาะสมสำาหรับเด็กเท่านั้นจึงเป็นการขัดต่อสิทธิในการพูดและแสดงความคิดเห็น

                        34
               ของผู้ใหญ่”  จึงตัดสินว่ากฎหมายนี้มีขอบเขตกว้างเกินไป (Overbroad)
                        กรณีกฎหมายคุ้มครองเด็กออนไลน์ (Child Online Protection Act : COPA) ศาลเห็นว่า
               กฎหมายนี้มีความกว้างในสองประเด็นคือ  (1) นิยามและองค์ประกอบความผิด เช่น “วัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์”
                                            35
               (Commercial purpose) “การมีส่วนทางธุรกิจ” (Engaged in business) สามารถครอบคลุมถึงคำาพูด

               ทางอินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง นอกจากข้อมูลลามกอนาจารที่เกี่ยวกับการค้าแล้วยังรวมไปถึงเว็บไซต์ที่มิได้
               ขายสินค้าหรือบริการโดยตรง เพียงแต่มีรายได้จากโฆษณา (2) เกณฑ์การพิจารณาเนื้อหาที่เป็นอันตรายต่อผู้เยาว์

               มีลักษณะกว้างครอบคลุมตั้งแต่เด็กเกิดใหม่จนถึงผู้เยาว์ตำ่ากว่า 17 ปี ไม่คำานึงถึงความแตกต่างของผู้เยาว์ในช่วง
               อายุต่าง ๆ และกระทบต่อเสรีภาพของผู้ใหญ่

                        กรณีกฎหมายป้องกันสื่อลามกเด็ก (The Child Pornography Prevention Act : CPPA) ศาลตัดสินว่า

               กฎหมายนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากขอบเขตนิยามสื่อลามกเด็ก ครอบคลุมไปถึงภาพเสมือน (Virtual image)
               ที่เกิดจากการสร้างโดยคอมพิวเตอร์ ไม่จำากัดเฉพาะสื่อลามกที่มีเด็กเป็นตัวแสดงจึงกว้างเกินไป
                                                                                36
                        เมื่อนำาเกณฑ์นี้มาวิเคราะห์กฎหมายไทย จะสามารถจำาแนกความกว้างเป็นสองระดับ คือ
                        ระดับที่หนึ่ง คว�มกว้�งในระดับขอบเขตหรือประเภทเนื้อห�ข้อมูลผิดกฎหม�ย

                        ประเภทของเนื้อหาข้อมูลที่ผิดกฎหมาย (Category of Unlawful or illegal content) ของแต่ละ

               ประเทศมีความแตกต่างกัน ศาลสหรัฐอเมริกาพยายามจำากัดขอบเขตของเนื้อหาผิดกฎหมายหรือเนื้อหาที่ไม่ได้
               รับการคุ้มครองในฐานะการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญให้แคบและจำากัด เช่น สื่อลามกเด็ก ดังนั้น เมื่อ

               ฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายที่กำาหนดเนื้อหาผิดกฎหมายอื่น เช่น เนื้อหาทารุณกรรมสัตว์ ศาลจึงตัดสินว่ากฎหมาย

                                                                                             37
               นั้นกว้างเกินไป และอธิบายว่าเป็นการ “สร้างประเภทเนื้อหาที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่”





                          34      From Reno v. American Civil Liberties Union, 521 U.S. 844 (1997).
                          35      From American Civil Liberties Union et al. V. Alberto R. Gonzales 478 F. Supp. 2d
               775 (2007).
                          36      From Ashcroft v. Free Speech Coalition, 535 U.S. 234 (2002).
                          37      From United States v. Stevens, 559 U.S. 460 (2010).
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57