Page 61 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 61

60     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






            and vagueness) แม้ว่ายังไม่นำาไปสู่การจับกุมหรือดำาเนินคดี แต่ส่งผลให้ผู้ประสงค์แสดงความคิดเห็นเกิด

            ความรู้สึกกังวล เนื่องจากไม่ทราบแน่ชัดว่าการกระทำาใดจะเป็นความผิดหรือไม่เป็นความผิด เช่น ไม่แน่ใจว่า ข้อมูลใด

            บิดเบือน ข้อมูลใดน่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคง ข้อมูลใดน่าจะทำาให้ประชาชนตื่นตระหนก ข้อมูล
            การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจะถูกตั้งข้อหาว่ากระทบต่อความมั่นคงหรือยุยงปลุกปั่นหรือไม่ ฯลฯ แม้ว่าหากผู้เผยแพร่

            ข้อมูลถูกฟ้อง ศาลอาจตัดสินว่าไม่มีความผิดเนื่องจากมีองค์ประกอบอีกหลายประการขึ้นอยู่กับการพิจารณา

            ของศาล เช่น เจตนาของผู้กระทำา พฤติการณ์ประกอบการกระทำาว่าน่าจะเกิดความเสียหาย ฯลฯ หรือไม่ แต่ประเด็น
            เหล่านี้อยู่ในชั้นพิจารณาแล้ว โดยก่อนหน้านั้น ผู้เผยแพร่ข้อมูลอาจถูกเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายตั้งข้อหา

            ความผิดอันมีองค์ประกอบที่กว้างและคลุมเครือไปก่อน ทำาให้ผู้เผยแพร่ข้อมูลต้องเข้าสู่กระบวนการทางอาญา
            อันอาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ ดังนั้น ความกว้างของเนื้อหาและพฤติกรรมที่อาจเป็นความผิด ซึ่งไม่สอดคล้อง

            กับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน หลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างข้อมูลที่กำาหนดเป็นความผิด

            และผลกระทบที่ชัดเจนจากข้อมูลนั้น ตลอดจนความคลุมเครือขององค์ประกอบความผิดในพระราชบัญญัตินี้
            สามารถส่งผลกระทบต่อการรับรู้และการตัดสินใจของผู้ประสงค์เผยแพร่ข้อมูล ทำาให้รู้สึกกังวลและไม่แน่ใจ

            ในการสื่อสารแสดงความคิดเห็น จนทำาให้ผู้นั้นยุติการสื่อสารแสดงความคิดเห็นทางสื่อออนไลน์ หรือเรียกว่า
            การเซ็นเซอร์ตนเอง (Self - censorship) ซึ่งเกิดจากผลหรือแรงกดดันของกฎหมายที่ไม่สอดคล้อง


                                                                         58
            กับหลักสิทธิมนุษยชนดังกล่าว ผลกระทบนี้เรียกว่า “Chilling effect” นั่นเอง  ทั้งนี้ ศาลต่างประเทศ
            เช่น สหรัฐอเมริกา วางหลักในหลายคดีว่า กฎหมายที่ก่อให้เกิดผลกระทบนี้ ขัดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
                        59
            ตามรัฐธรรมนูญ  โดยในการพิจารณาว่ากฎหมายนั้นก่อให้เกิดผลกระทบดังกล่าวหรือไม่ ศาลจะพิจารณา
            จากเกณฑ์ข้ออื่นที่กล่าวมาแล้ว เช่น ความกว้าง ความคลุมเครือ เป็นต้น



               7     บทสรุปและข้อเสนอแนะ

                     บทความนี้ได้นำาหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และคำาพิพากษา

            ศาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง มาสังเคราะห์และจำาแนกเป็นเกณฑ์การปกป้องสิทธิ 9 เกณฑ์ เพื่อนำามาใช้วิเคราะห์
            หลักกฎหมายที่จำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

            เพื่อประเมินถึงแนวโน้มของความสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า บทบัญญัติ




                       58     Chilling effect อาจเกิดจากกฎหมายลักษณะต่าง ๆ เช่น กฎหมายหมิ่นประมาท (Thelma
            McCormack , Censorship and Libel: The Chilling Effect, JAI Press, 1990) แต่ในที่นี้พิจารณาเฉพาะผลกระทบจาก
            พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ซึ่งมุ่งเน้นควบคุมเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงและความสงบ
                       59     From Speiser v.Randall, 357 U.S. 513, 525–26 (1958).
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66