Page 59 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 59

58     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน







            ประโยชน์สำาคัญด้านการรักษาความสงบ แต่มีประเด็นว่า การกำาหนดความผิดนี้มีหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างไร
            ว่าการเผยแพร่ข้อมูลเท็จส่งผลอย่างเป็นรูปธรรมที่ชี้วัดได้ต่อความตื่นตระหนก สำาหรับกรณีมาตรา 14 (1)

            มีประเด็นว่า เนื้อหาข้อมูลเท็จหรือบิดเบือนมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับ “ความน่าจะเสียหายแก่ประชาชนทั่วไป”
            อย่างไร มีหลักฐานเชิงประจักษ์ใดที่แสดงว่า การโพสต์หรือแชร์ข่าวลือเท็จต่าง ๆ โดยมีเพียงเจตนา “หลอกลวง”

            ซึ่งไม่จำาเป็นต้องถึงขั้นแสวงประโยชน์โดยมิชอบนั้นเป็นเหตุให้เกิด “ความเสียหาย” ต่อประชาชนทั่วไป ผู้เขียน

            จึงเห็นว่า ความอันตรายของข้อมูลเท็จต่อความมั่นคงฯ ต่อความตื่นตระหนกของประชาชนนั้น เป็นองค์ประกอบ
            ที่บัญญัติขึ้นบนพื้นฐานการคาดการณ์ ในเชิงเหมารวมอย่างกว้าง (merely conjectural harm) หรือในเชิง

            สัญลักษณ์ (symbolic nature) หรือเป็นเพียงความคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ของอาชญากรรม (Prospect

            of crime) เท่านั้น จึงมีแนวโน้มไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ข้อนี้ 55

                     เกณฑ์ก�รปกป้องสิทธิประก�รที่เก้� : ก�รเผยแพร่ข้อมูลเท็จเพื่อก�รวิพ�กษ์วิจ�รณ์ เป็นเสรีภ�พ

            ในก�รแสดงคว�มคิดเห็น

                     เนื้อหาข้อมูลเท็จบางกรณียังอยู่ในขอบเขตของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ศาลสิทธิมนุษยชน

            ยุโรป ตัดสินว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามมาตรา 10 ของอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป ไม่มีข้อจำากัด
            หรือข้อห้ามในการอภิปรายหรือเผยแพร่ข้อมูลที่ได้รับมา แม้ว่าจะเป็นข้อมูลเท็จ ดังตัวอย่างคดี Salov

                     56
            v. Ukraine  ผู้ร้องถูกลงโทษจำาคุกและปรับ เนื่องจากเผยแพร่ข่าวลือเท็จเกี่ยวกับการตายของประธานาธิบดี
            ผู้ร้องจึงยื่นคำาร้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปอ้างว่า กฎหมายภายในของประเทศที่ลงโทษตนนั้นขัดต่อเสรีภาพ
            ในการแสดงความคิดเห็นตามอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเห็นว่า แม้ผู้ร้องเผยแพร่

            ข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ (False statement of fact) แต่ก็มีลักษณะของการเผยแพร่ด้วยความสงสัยในความถูกต้อง
            แท้จริงและพยายามที่จะเผยแพร่ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ความจริงของเนื้อหานั้น ศาลยำ้าว่า “เสรีภาพ

            ในการแสดงความคิดเห็นตามอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรปมาตรา 10 มิได้ห้ามการอภิปรายหรือการเผยแพร่ข้อมูล

            แม้จะมีเหตุอันควรสงสัยว่าข้อมูลนั้นอาจไม่เป็นความจริง” ดังนั้น การที่กฎหมายภายในกำาหนดโทษสำาหรับ
            การกระทำาดังกล่าวและการที่ศาลภายในประเทศตัดสินลงโทษผู้ร้องด้วยเหตุนี้เป็นการขัดต่อเสรีภาพ

            ในการแสดงความคิดเห็นตามอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป



                         หลักฐานพิสูจน์เชิงประจักษ์ตามเกณฑ์ข้อนี้ เป็นการพิจารณาในระดับองค์ประกอบในตัวบทกฎหมาย
                        55
            (Element of offence)  ที่กำาหนดเนื้อหาต้องห้ามและประโยชน์ที่มุ่งคุ้มครอง ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับการนำาหลักฐาน
            มาพิสูจน์ในชั้นพิจารณาคดีเมื่อผู้เผยแพร่ข้อมูลถูกดำาเนินคดีตามกฎหมายนั้นแล้ว กล่าวคือ เกณฑ์ข้อนี้จำากัดไม่ให้ภาครัฐ
            ตรากฎหมายควบคุมเนื้อหาที่ไม่มีหลักฐานแสดงถึงความเป็นอันตรายของเนื้อหานั้นอย่างเป็นรูปธรรม
                       56       From Salov v. Ukraine, No. 65518/01, judgment of 6 September 2005, Reports 2005-
            VIII, §113.
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64