Page 54 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 54

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  53






               การกระทำาของมาตรา 14 (1) (โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน) และมาตรา 14 (2)

               (โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ....) จะเห็นได้ว่ามีขอบเขตกว้าง

               หรือไม่ได้ร่างขึ้นอย่างแคบและเจาะจงตามเกณฑ์ข้อนี้

                        เกณฑ์ก�รปกป้องสิทธิประก�รที่หก : หลักคว�มไม่คลุมเครือ (Vagueness)

                        กฎหมายที่จำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น นอกจากต้องมีขอบเขตแคบและจำากัดแล้ว ยังต้อง

               มีความชัดเจน หรือไม่คลุมเครือ ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา ศาลนำาหลักความคลุมเครือ (Vagueness doctrine)
                                                                                             40
               มาใช้ในการพิจารณาว่า กฎหมายต้องกำาหนดให้บุคคลทราบขอบเขตที่ชัดเจนระหว่างสิ่งที่ผิดกฎหมาย
               และสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย กล่าวคือ บุคคลธรรมดาทั่วไป (Ordinary intelligence) ต้องสามารถทราบได้ว่า สิ่งใด

               หรือพฤติกรรมใดที่กฎหมายห้ามเพื่อให้ปฏิบัติตามได้ถูกต้อง  ตัวอย่างที่ศาลนำาหลักนี้มาใช้ชั่งนำ้าหนักกฎหมาย
                                                          41
               ที่จำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เช่น กรณีกฎหมาย CDA ดังกล่าวข้างต้น ศาลตัดสินว่า นิยาม ความหมาย
               ของหลายคำาในกฎหมายนั้นไม่ชัดเจน เช่น คำาว่า “ไม่เหมาะสมอย่างเห็นได้ชัด” หรือ “น่ารังเกียจอย่างชัดแจ้ง”

                                                                         42
               (Patently offensive) ซึ่งไม่มีการนิยามและไม่มีความหมายทางกฎหมายมาก่อน
                        หากนำาเกณฑ์นี้มาวิเคราะห์องค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเนื้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วย

               การกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จะพบว่า นอกจากมีลักษณะกว้างแล้ว ยังมีความคลุมเครือด้วย

               เช่น ข้อมูลบิดเบือน ตามมาตรา 14 (1) มีขอบเขตกว้างกว่าข้อมูลเท็จ (False) โดยอาจรวมถึงข้อมูลที่กล่าวถึงข้อเท็จ
               จริงเพียงบางส่วน ฯลฯ อีกทั้งยังไม่ชัดเจนถึงขอบเขตหรือนิยามของคำานี้ สำาหรับองค์ประกอบพฤติการณ์ประกอบ

               การกระทำาตามมาตรา 14 (2) นอกจากกว้างโดยครอบคลุมความมั่นคงหลายมิติแล้วยังไม่ชัดเจนว่า พฤติการณ์
               ใดบ้างอยู่ในขอบเขตนี้ ตัวอย่างเช่น การนำาเสนอข้อมูลวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล อาจอยู่ในความหมายอันกว้าง

               และคลุมเครือของ “น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคง” ตามมาตรา 14 (2)  รวมทั้ง การยุยงปลุกปั่น

               ตามมาตรา 14 (3) ประกอบกฎหมายอาญามาตรา 116 และยังอาจเป็นกรณี “น่าจะทำาให้ประชาชนตื่นตระหนก”
               ตามมาตรา 14 (2) เป็นต้น ความคลุมเครือตามพระราชบัญญัตินี้ ส่งผลให้ผู้ใช้งานทั่วไป อาจไม่สามารถทราบ

               ชัดเจนว่า การกระทำาใดหรือข้อมูลใดที่จะเป็นความผิดตามกฎหมายนี้








                          40    From Freedom of speech: a reference guide to the United States Constitution
               (p. 146), by Keith Werhan, 2004, Westport, Conn. : Praeger.
                          41      From Grayned v. City of Rockford, 408 U.S. 104 (1972).
                          42      From Reno v. American Civil Liberties Union, 521 U.S. 844 (1997).
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59