Page 51 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 51
50 วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
การใช้มาตรการหลายอย่างกับเนื้อหาเดียวกัน นอกจากมีแนวโน้มไม่สอดคล้องกับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน
ยังอาจไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ทางเลือกอื่นดังจะกล่าวต่อไปด้วย นอกจากนี้ มาตรการควบคุมเนื้อหาบางอย่าง
ที่เพิ่มเข้ามาในการแก้ไขกฎหมายฉบับปี 2560 เช่น มาตรา 16/2 ซึ่งให้อำานาจศาลสั่งลบหรือทำาลายข้อมูลนั้น
มีการอ้างเหตุผลว่าอยู่บนพื้นฐานของสิทธิที่จะถูกลืม (Right to be forgotten) ซึ่งผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า เป็นการกล่าวอ้าง
ที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากมีความแตกต่างจากสิทธิที่จะถูกลืมตามนัยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
31
ของยุโรปหลายประการ โดยนัยนี้ อาจกล่าวได้ว่า การนำาแนวคิดหลักการของกฎหมายอื่นเข้ามาผสมในกฎหมาย
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นการเกินจำาเป็น สำาหรับมาตรการระงับการแพร่หลายของเนื้อหาตามมาตรา 20
(3) ยังขยายขอบเขตไปถึงข้อมูลที่เป็นความผิดกฎหมายอื่นด้วย แม้ว่าในส่วนนี้อาจมีเหตุผล เนื่องจากเนื้อหา
อันเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอาจไม่มีกลไกระงับเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ เช่น เนื้อหาที่ผิดกฎหมายคุ้มครอง
ผู้บริโภค แต่การที่มาตรา 20 (3) เปิดโอกาสให้เชื่อมโยงถึงเนื้อหาผิดกฎหมายต่าง ๆ โดยไม่ได้จำาแนกความรุนแรง
ของเนื้อหาอาจไม่สอดคล้องกับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน
เกณฑ์ก�รปกป้องสิทธิประก�รที่ห้� : กฎหม�ยที่จำ�กัดเสรีภ�พในก�รแสดงคว�มคิดเห็นต้องมี
ขอบเขตแคบหรือไม่กว้�งเกินไป
แม้กฎหมายที่จำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจะบัญญัติขึ้น เพื่อคุ้มครองประโยชน์สำาคัญ
และจำาเป็น (Compelling interest) แต่กฎหมายดังกล่าวต้องมีองค์ประกอบที่แคบและจำากัด (Narrowly written)
หรืออีกนัยหนึ่ง จะต้องไม่กว้างเกินไป (Overbroad) หลักเกณฑ์นี้ปรากฏในกฎหมายหลายประเทศ
เช่น ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา ศาลวางหลักว่า กฎหมายที่จำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต้องร่างขึ้น
32
อย่างแคบ (Narrowly written) หรือเรียกว่า หลักความกว้างเกินไปของกฎหมาย (Doctrine of overbreadth)
33
ซึ่งนักวิชาการได้วิเคราะห์ถึงหลักการนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 และศาลนำาหลักการนี้มาในการชั่งนำ้าหนัก โดยพิจารณา
ประกอบกับประโยชน์สำาคัญที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง (Compelling interest) ตัวอย่างเช่น
31 จาก “สิทธิที่จะถูกลืม (Right to be forgotten) ในมิติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำา
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560,” โดย คณาธิป ทองรวีวงศ์, 2560, วารสารวิชาการ
สิทธิมนุษยชน, 2(2), น. 105-130. ลิขสิทธิ์ 2560 โดย สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
32 From United States v. Playboy Entm’t Group, Inc., 529 U.S. 803, 813 (2000) ; Brown
v. Entertainment Merchants Association, 564 U.S. 786 (2011).
33 From The first amendment overbreadth doctrine, by L. D. Sargentich, 1970, Harvard
Law Review, 83(4), p. 844-927. ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้อ้างอิงหลักการจากบทความนี้ในคำาพิพากษาด้วย เช่น คดี
Broadrick v. Oklahoma, 413 U.S. 601 (1973).