Page 50 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 50
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561) 49
เนื่องจากเนื้อหาอันเป็นความผิดมาตรา 14 มีแนวโน้มไม่สอดคล้องกับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน
ดังนั้น มาตรการระงับเนื้อหาในส่วนที่เชื่อมโยงกับความผิดมาตรา 14 เช่น การให้อำานาจศาลสั่งให้ทำาลายข้อมูล
ตามมาตรา 16/2 และการให้อำานาจศาลสั่งระงับข้อมูลตามมาตรา 20 (1) ก็มีแนวโน้มไม่สอดคล้องเช่นกัน
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาการระงับเนื้อหาอันขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีตามมาตรา 20
วรรคสอง ซึ่งยังไม่ถึงขั้นเป็นความผิดมาตรา 14 ก็มีแนวโน้มเป็นมาตรการที่ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์นี้
นอกจากนี้ ในการแก้ไขกฎหมายฉบับปี 2560 ทำาให้เกิดมาตรการถึงสองกลุ่มในการควบคุมเนื้อหา
คือ ฐานความผิดอาญา และ การระงับเนื้อหา โดยมาตรการทั้งสองกลุ่มมีความซำ้าซ้อน และคาบเกี่ยวกัน ดังนี้
• ความซ�้าซ้อนระหว่างฐานความผิดอาญาส�าหรับผู้น�าเข้าสู่ระบบหรือเผยแพร่ส่งต่อ ก่อนการแก้ไข
กฎหมายในปี 2560 ความซำ้าซ้อนนี้จะเห็นได้จากความผิดหมิ่นประมาทที่อยู่ในขอบเขตทั้งกฎหมายอาญา
และมาตรา 14 (1) หลังการแก้ไขกฎหมาย ความซำ้าซ้อนยังคงปรากฏ เช่น เนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
อาจถูกดำาเนินคดีในฐานะข้อมูลอันกระทบความมั่นคงตามมาตรา 14 (3) และกฎหมายอาญาฐานยุยงปลุกปั่น
ตามมาตรา 116 ซึ่งใช้กับการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตได้อยู่แล้ว แม้ว่าไม่มีมาตรา 14 ก็ตาม สำาหรับความผิดฐาน
เผยแพร่ภาพตัดต่อผู้อื่นตามมาตรา 16 ซำ้าซ้อนกับฐานความผิดหมิ่นประมาทตามกฎหมายอาญา การฉ้อโกง
30
คอมพิวเตอร์ด้วยเนื้อหาเท็จหรือบิดเบือนตามมาตรา 14 (1) ซึ่งมุ่งหมายหลอกลวงความเข้าใจของมนุษย์ ก็ซำ้าซ้อน
กับฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายอาญา นอกจากการซำ้าซ้อนระหว่างฐานความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
กับกฎหมายอื่นแล้ว ในระหว่างฐานความผิดของพระราชบัญญัตินี้เองก็มีความซำ้าซ้อนกัน เช่น การเผยแพร่ข้อมูลเท็จ
เกี่ยวกับความมั่นคง สามารถเข้าองค์ประกอบทั้งมาตรา 14 (2) และ (3) ทำาให้ในชั้นสอบสวน เจ้าหน้าที่สามารถ
ตั้งข้อหาตามอนุมาตราดังกล่าวรวมกันมาสำาหรับการกระทำาอันเดียวกัน ความซำ้าซ้อนเช่นนี้อาจไม่สอดคล้อง
กับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน
• การใช้มาตรการควบคุมเนื้อหาหลายมาตรการในกฎหมายฉบับเดียวกัน เช่น การดำาเนินคดี
กับผู้นำาเข้าสู่ระบบซึ่งข้อมูลเป็นความผิดมาตรา 14 และศาลสั่งทำาลายเนื้อหานั้น ตามมาตรา 16/1 หรือ ในกรณี
ที่ศาลยังไม่พิพากษาว่าผู้เผยแพร่เนื้อหานั้นมีความผิด เจ้าหน้าที่อาจร้องต่อศาลให้สั่งระงับเนื้อหาตามมาตรา 20
30 From The Application of the Computer-related Crime Act (No.2) B.E. 2560 (2017) to
Protect Children in the Digital Age from Being a Victim of Cyber-Grooming: to the case of “Phishing”,
th
2018, by Kanathip Thongraweewong, In Conference proceedings at The 9 International Science, Social
Science, Engineering and Energy Conference (I-SEEC 2018), Bangkok: Kasem Bundit University. Retrieved
from https://iseec2018.kbu.ac.th/e-Proceeding/proceeding_docs/Proceeding-Track-II-SocialScience/
v2/54-Social_180223180193_Kanathip.pdf