Page 49 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 49
48 วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
ในกรณีความมั่นคงทางทหาร นั้นแม้ว่าไม่ได้ระบุไว้โดยตรงในพระราชบัญญัตินี้ แต่สามารถรวมอยู่ใน
ขอบเขตของความมั่นคง ในฐานความผิดมาตรา 14 โดยเฉพาะ (2) และ (3) ซึ่งมีองค์ประกอบที่อาจนำามาใช้
ดำาเนินคดีผู้เผยแพร่ข้อมูล “เกี่ยวกับ” การทหาร ได้อย่างกว้าง และสามารถรวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงาน
ของทหารในลักษณะสถาบันด้วย ดังจะเห็นได้ว่า แม้มีการแก้ไขมาตรา 14 (1) ไม่ให้รวมถึงการหมิ่นประมาทบุคคล
เช่น ทหารคนใดคนหนึ่งแล้ว แต่การวิพากษ์วิจารณ์ทหารในลักษณะสถาบัน ยังอาจอยู่ภายใต้มาตรา 14 (2)
หรือ (3) ได้ ในขณะที่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปแยกการวิพากษ์วิจารณ์ทหารในเชิงสถาบันออกจากข้อมูลที่กระทบ
ความมั่นคงทางทหาร ดังนั้น ฐานความผิดดังกล่าวของไทยจึงมีแนวโน้มไม่ได้สัดส่วนตามเกณฑ์ข้อนี้
ในกรณีการจำากัดเสรีภาพเพื่อคุ้มครองสิทธิในชื่อเสียงของผู้อื่น การแก้ไขมาตรา 14 (1) สะท้อนถึง
เจตนารมณ์ในการแยกหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ตออกไป เพื่อให้ดำาเนินคดีเฉพาะในส่วนความผิดตามกฎหมาย
อาญา ซึ่งจัดว่าสอดคล้องกับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน สำาหรับมาตรา 14 (2) (3) (4) เป็นบทบัญญัติ
ที่มุ่งเน้นควบคุมเนื้อหาที่กระทบถึงความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อยสาธารณะ โดยรวมแล้วจึงกล่าวได้ว่า
มาตรา 14 ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิในชื่อเสียงของบุคคลโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัตินี้
ยังคงมีฐานความผิดเกี่ยวกับการนำาเข้าสู่ระบบซึ่งภาพบุคคลอันเกิดจากการตัดต่อ (มาตรา 16) ซึ่งสามารถเข้า
องค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทได้อยู่แล้ว จึงเป็นการคุ้มครองสิทธิในชื่อเสียงที่ซำ้าซ้อนกับกฎหมายอาญา
และอาจไม่สอดคล้องกับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน นอกจากนี้ การเผยแพร่ข้อมูลกระทบชื่อเสียงของบุคคล
ในบางกรณีแม้ว่าไม่เป็นความผิดมาตรา 14 (1) แต่ยังอาจเข้าองค์ประกอบมาตราอื่น เช่น 14 (2) (3) โดยเฉพาะ
กรณีที่ชื่อเสียงของบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์กับประเด็นสาธารณะ เช่น การวิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองในเรื่อง
การบริหารหรือนโยบายของรัฐ อาจถูกดำาเนินคดีตามมาตรา 14 (2) โดยอ้างว่าเป็นข้อมูลเท็จที่กระทบต่อ
29
ความมั่นคงหรือน่าจะทำาให้ประชาชนตื่นตระหนก
สำาหรับเนื้อหาเกี่ยวกับศีลธรรมอันดี ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนในฐานความผิดมาตรา 14 สำาหรับเนื้อหาลามก
ตามมาตรา 14 (4) จัดอยู่ในกลุ่มศีลธรรมอันดี แต่มีขอบเขตกว้างกว่าสื่อลามกเด็ก อีกทั้งมีความซำ้าซ้อน
กับสื่อลามกเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา จึงอาจมีแนวโน้มไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ข้อนี้
29 จาก การปรับใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่แก้ไข
เพิ่มเติม พ.ศ. 2560 กับ เนื้อหาที่กระทบชื่อเสียงของบุคคลทางระบบคอมพิวเตอร์, รายงานสืบเนื่อง การประชุมวิชาการ
th
ระดับชาติ ครั้งที่ 4 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 (4 TECHCON 2018 and 2 ITECH 2018), โดย คณาธิป ทองรวีวงศ์,
nd
2561, กรุงเทพฯ : วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.