Page 48 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 48

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  47






               เช่น บุคคลสาธารณะ (Public figure) จะต้องยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าบุคคลทั่วไป การที่กฎหมาย
               กำาหนดให้จำาเลยพิสูจน์ความจริงหรือเท็จของเนื้อหาที่เป็นความคิดเห็นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำาได้ เป็นต้น

                        เหตุผลด้านศีลธรรมอันดี (Morals) เช่น สื่อลามกเด็ก ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ตัดสินว่า กฎหมาย

               ที่กำาหนดโทษสำาหรับผู้เผยแพร่สื่อลามกทางอินเทอร์เน็ต มีความจำาเป็นเนื่องจากพิจารณาถึงสภาพการสื่อสาร
                                  27
               เนื้อหาที่เด็กอาจเข้าถึงได้  ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา แม้ศาลยอมรับว่าการควบคุมเนื้อหาเพื่อคุ้มครองเด็ก
               จะเป็นประโยชน์ที่สำาคัญ แต่ศาลตัดสินว่า กฎหมายหลายฉบับที่ควบคุมเนื้อหาลามกเพื่อคุ้มครองเด็กนั้น

               ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน เช่น จำากัดสิทธิผู้ใหญ่ในการเข้าถึง
               ข้อมูลไปด้วย รวมทั้งไม่สอดคล้องกับเกณฑ์สิทธิมนุษยชนอื่น เช่น หลักความกว้างและหลักทางเลือกอื่น

               ดังจะกล่าวต่อไป
                        หากนำาเกณฑ์ข้อนี้มาพิจารณากฎหมายไทย เห็นว่า ในส่วนฐานความผิดอาญา มาตรา 14 (2) (3)

               ครอบคลุมเนื้อหาที่กระทบความมั่นคงในหลายมิติ โดยไม่ได้จำาแนกอย่างชัดเจนระหว่างการสื่อสารวิพากษ์วิจารณ์

               และการสื่อสารในลักษณะกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง ทำาให้การวิพากษ์วิจารณ์ตกอยู่ในขอบเขตองค์ประกอบ
               ภายนอกของมาตรานี้ได้ สำาหรับองค์ประกอบ “น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัย

               ของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็น
               ประโยชน์สาธารณะของประเทศ..” ตามมาตรา 14 (2) นั้น เมื่อเปรียบเทียบกับเหตุเพิ่มโทษตามมาตรา 12

               จะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบคล้ายคลึงกัน ทั้งที่ฐานความผิดทั้งสองอยู่บนพื้นฐานแนวคิดแตกต่างกัน กล่าวคือ

               มาตรา 12 เป็นเหตุเพิ่มโทษสำาหรับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่โจมตีระบบหรือข้อมูล (มาตรา 5 - 11)
               เช่น การโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานทางทหาร แต่มาตรา 14 (2) เป็นการเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหาอันเป็นเท็จ

               ซึ่งโดยหลักแล้วไม่ใช่อาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยแท้ (Pure cybercrime) เนื่องจากไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบ

               ต่อความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ (Confidentiality, Integrity, Availability : CIA) การกำาหนดความผิด
               มาตรา 14 (2) อย่างกว้างโดยใช้องค์ประกอบเกี่ยวกับความมั่นคงดังกล่าว ยังนำาไปสู่ประเด็นความสอดคล้องกับเกณฑ์

               ด้านความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่าง การเผยแพร่ข้อมูลเท็จกับผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมต่อความมั่นคง

               ของประเทศ ฯลฯ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาโทษของความผิดมาตรา 12 และมาตรา 14 (2) จะเห็นได้ว่า โทษอาญา
               สำาหรับการเผยแพร่ข้อมูลเท็จมีความใกล้เคียงกับโทษอาญาสำาหรับการโจมตีระบบเกี่ยวกับความมั่นคง
                                                                                             28
               ซึ่งแสดงให้เห็นแนวคิดของกฎหมายในการควบคุมเนื้อหาข้อมูลเท็จในระดับที่เข้มงวดมากและมีแนวโน้ม
               ไม่สอดคล้องกับหลักความได้สัดส่วน



                          27      From Perrin v. the United Kingdom (decision), No. 5446/03, 18 October 2005.
                          28    มาตรา 12 โทษจำาคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
               ในขณะที่มาตรา 12 โทษจำาคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53