Page 47 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 47
46 วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
เหตุผลเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ (Public order) ปัจจัยพิจารณาที่สำาคัญ
คล้ายคลึงกับกรณีความมั่นคง กล่าวคือ เนื้อหานั้นส่งผลให้เกิดความรุนแรงหรือไม่ ศาลในสหรัฐอเมริกาวางหลัก
ว่า กฎหมายที่จำากัดหรือลงโทษการแสดงออกที่ยังไม่ถึงขั้นก่อให้เกิดความไม่สงบ เช่น ยังไม่มีการกระทำารุนแรง
21
นั้น ขัดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น กรณีการประท้วง ชุมนุม รณรงค์หรือคัดค้าน ศาลสิทธิมนุษยชน
ยุโรป วางเกณฑ์จำาแนกระหว่างกรณีการโต้แย้ง คัดค้าน ไม่เห็นด้วย ในลักษณะของชุมนุมหรือแสดงออกโดยสงบ
กรณีนี้หากกฎหมายลงโทษหรือจำากัดสิทธิ จะไม่สอดคล้องกับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน แต่กรณีที่ถึงขนาด
เป็นการกระทำาทางกายภาพ กฎหมายอาจจำากัดเสรีภาพได้ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อย
(Peace and order) และความปลอดภัยสาธารณะ เช่น กฎหมายที่ลงโทษผู้ประท้วงโดยขัดขวางการก่อสร้าง
22
23
(Physical obstruction) การปิดถนน (Blocking road) ถือเป็นกฎหมายที่จำากัดเสรีภาพในการแสดง
ความคิดเห็นแต่ได้สัดส่วนและมีความจำาเป็น
เหตุผลเกี่ยวกับความมั่นคงทางทหาร ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปวางหลักว่า กฎหมายที่จำากัดเสรีภาพ
จะต้องมีความจำาเป็นเพื่อปกป้องความมั่นคงทางทหารจากผลกระทบที่เกิดจริงอย่างเป็นรูปธรรม โดยต้องจำาแนก
ระหว่าง (1) การสื่อสารที่กระทบต่อการปฏิบัติงานของทหาร เช่น การนำาข้อมูลลับทางทหารมาเผยแพร่
24
ซึ่งกฎหมายที่ควบคุมการสื่อสารเช่นนี้สอดคล้องกับหลักความได้สัดส่วน (2) การสื่อสารที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์
ทหาร ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานหรือความมั่นคงทางทหาร จึงยังคงได้รับการคุ้มครองในฐานะเสรีภาพ
ในการแสดงความคิดเห็น ศาลยังอธิบายว่า กฎหมายไม่สามารถนำาวินัยทหาร (Military discipline) มาใช้
25
เพื่อจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ ดังนั้น หากกฎหมายกำาหนดความผิดสำาหรับการวิพากษ์วิจารณ์
องค์กรทหารในลักษณะสถาบันจะไม่สอดคล้องกับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน เว้นแต่การวิจารณ์ทหาร
ในฐานะตัวบุคคลอาจเข้าข่ายหมิ่นประมาท
เหตุผลเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้อื่น จะเห็นได้จากกฎหมายหมิ่นประมาท ซึ่งต้องชั่งนำ้าหนัก
กับเกณฑ์ความจำาเป็นด้วย ดังจะเห็นจากคดีที่มีประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายภายในกำาหนดโทษสำาหรับการวิพากษ์
วิจารณ์บุคคลสาธารณะ (Public figure) เช่น นักการเมือง ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเห็นว่า เป็นการแทรกแซง
26
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ไม่จำาเป็นในสังคมประชาธิปไตย โดยนำาปัจจัยหลายประการมาพิจารณา
21 From Texas v. Johnson 491 U.S. 397 (1989).
22 From Steel and others v. United Kingdom, judgment of 23 September 1998.
23 From Lucas v. the United Kingdom (decision), No. 39013/02, 18 March 2003.
24 From Hadjianastassiou v. Greece, 16 December 1992.
25 From Grigoriades v. Greece, judgment of 25 November 1997, Reports 1997-VII, §45.
26 From Feldek v. Slovakia, 12 July 2001 ; Dalban v. Romania, 28 September 1999 (GC) ;
Lopes Gomes da Silva v. Portugal, 28 September 2000.