Page 46 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 46

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  45






               (Necessity in a democratic society) หลักสำาคัญของเกณฑ์ข้อนี้สรุปได้ว่า แม้กฎหมายที่จำากัดเสรีภาพในการ

               แสดงความคิดเห็นจะมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องประโยชน์สำาคัญ เช่น ความมั่นคง ความปลอดภัยสาธารณะ ฯลฯ

               แต่กฎหมายดังกล่าวต้องมีความจำาเป็น (Necessity) และได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์ดังกล่าวด้วย (Proportionate
               to the aim pursued) ในการวินิจฉัยว่ากฎหมายที่พิพาทนั้นสอดคล้องกับเกณฑ์ด้านความจำาเป็นและได้สัดส่วน

               หรือไม่ ศาลต่างประเทศพิจารณาจากหลายปัจจัย โดยผู้เขียนจะจำาแนกวิเคราะห์ตามเหตุผลของกฎหมายในการ

               จำากัดเสรีภาพ
                        เหตุผลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ (National security) กฎหมายที่จำากัดการแสดงความคิดเห็น

               ด้วยเหตุผลนี้จะต้องมีความจำาเป็นเพื่อปกป้องผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมอันอาจเกิดจากการแสดงความคิดเห็น
               นั้น โดยต้องจำาแนกระหว่างการแสดงความคิดเห็นที่มีลักษณะกระตุ้นยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางกายภาพ

               (Violence) กับการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่มีลักษณะก่อให้เกิดความรุนแรงคดีในกรอบกฎหมาย

               สิทธิมนุษยชนที่ตัดสินตามหลักการนี้ เช่น
                        • กรณีกฎหมายที่ควบคุมเนื้อหาข้อมูลกระตุ้นยั่วยุ (Incite) หรือโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda)

               ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปใช้เกณฑ์สำาคัญในการจำาแนกก็คือ เนื้อหาดังกล่าวถึงขั้นกระตุ้นให้เกิดการกระทำาอันเป็น
               ความรุนแรง (Call for the use of violence) หรือไม่ หากกฎหมายควบคุมเนื้อหาซึ่งยังไม่ถึงขั้นก่อให้เกิด

                                                             17
               ความรุนแรงก็จะไม่สอดคล้องกับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน
                        • กรณีกฎหมายเกี่ยวกับ “Hate speech” อันเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ (Discrimination
                      18
               ground)  ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปใช้ปัจจัยด้านการกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงเช่นเดียวกัน โดยมีแนววินิจฉัยว่า
               (1) กฎหมายห้ามการสื่อสารในลักษณะโต้แย้งคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยที่ไม่ถึงขั้นกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง

               (Incite violence) ไม่สอดคล้องกับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน  (2) กฎหมายที่ห้ามการแสดงความเห็นโต้แย้ง
                                                             19
                                                                                            20
               คัดค้านที่ถึงขั้นกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง (call to violence) สอดคล้องกับหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน





                          17      From Sürek v. Turkey (No. 3), 8 July 1999 ; Hogefeld v. Germany (decision), No. 35402/97,
               20 January 2000;  Güzel v. Turkey (No. 1) (decision), No. 54479/00, 20 September 2005.
                          18    จาก รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ (น. 448-
               497), โดย คณาธิป ทองรวีวงศ์, กัณฑิมา ช่างทำา, ภคมน สืบไชย, กุสุมา สุนประชา, ชลธิชา สมสะอาด, 2560, กรุงเทพฯ:
               สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. สืบค้นจาก http://library.nhrc.or.th/ulib/document/ebook/
               E09414/ebook.html
                          19      From Han v. Turkey, No. 50997/99, judgment of 13 September 2005; Osman Özçelik
               and others v. Turkey, No. 55391/00, judgment of 20 October 2005.
                          20      From Zana v. Turkey, judgment of 25 November 1997.
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51