Page 45 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 45

44     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






                     หากเปรียบเทียบกับกฎหมายไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 วางหลัก

            คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยมีข้อยกเว้นในกรณี “…อาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

            ที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบ
            เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน…” จะเห็นถึงคำาว่า “เฉพาะเพื่อ”

            แสดงว่า ประโยชน์สำาคัญอันเป็นเหตุผลของการบัญญัติกฎหมายเพื่อจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

            มีจำากัดเฉพาะที่รัฐธรรมนูญกำาหนดไว้เท่านั้น ซึ่งคล้ายคลึงกับอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรปซึ่งจำากัดเหตุผล
                                    16
            เฉพาะที่ระบุไว้ (Exhaustive list)  รัฐจึงไม่อาจตรากฎหมายจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยอ้างเหตุ
            หรือวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากนี้
                     เมื่อพิจารณาบทบัญญัติในส่วนฐานความผิด (มาตรา 14 - 16) และการระงับเนื้อหา (มาตรา 20)

            จะเห็นได้ว่า โดยรวมแล้วเป็นการควบคุมเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์สำาคัญตามกรอบสิทธิมนุษยชน

            โดยมีการระบุหรืออ้างอิงเหตุผลเพื่อปกป้องประโยชน์ดังกล่าว จึงสอดคล้องกับเกณฑ์ข้อนี้ แต่ประเด็นสำาคัญ
            อันเห็นได้จากคำาพิพากษาศาลต่างประเทศก็คือ แม้กฎหมายจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจะอ้างอิง

            หรือระบุเหตุผลเพื่อปกป้องประโยชน์สำาคัญดังกล่าว แต่ยังไม่อาจสรุปได้ว่า กฎหมายนั้นสอดคล้องกับหลัก
            สิทธิมนุษยชน เนื่องจากต้องชั่งนำ้าหนักระหว่างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกับการปกป้องประโยชน์อันสำาคัญ

            ดังกล่าวด้วยเพื่อหาจุดสมดุล (Balancing of interest) สำาหรับการชั่งนำ้าหนักดังกล่าวนี้ ศาลต่างประเทศ

            มีการนำาเกณฑ์อีกหลายประการมาพิจารณาซึ่งจะวิเคราะห์ต่อไป

                     เกณฑ์ก�รปกป้องสิทธิประก�รที่สี่ : หลักคว�มจำ�เป็นและได้สัดส่วน (Necessary and

            Proportionate)

                     เกณฑ์ข้อนี้ปรากฏใน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 19

            ซึ่งระบุว่า “ข้อจำากัด (เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น) ต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจำาเป็น…” อนุสัญญา
            สิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Convention on Human Rights) ก็ระบุถึงหลักการนี้ในมาตรา 10 ว่า

            “การใช้เสรีภาพ..อาจอยู่ภายใต้ข้อจำากัด..ซึ่งกำาหนดโดยกฎหมายที่จำาเป็นในระบอบประชาธิปไตย”









                       16      From Protecting the right to freedom of expression under the European convention
            on human rights : A handbook for legal practitioners (p. 43), by Dominika Bychawska-Siniarska, 2017,
            Retrieved from https://edoc.coe.int/en/fundamental-freedoms/7425-protecting-the-right-to-freedom-
            of-expression-under-the-european-convention-on-human-rights-a-handbook-for-legal-practitioners.html
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50