Page 44 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 44

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  43






                        เกณฑ์ก�รปกป้องสิทธิประก�รที่สอง : กฎหม�ยที่จำ�กัดเสรีภ�พในก�รแสดงคว�มคิดเห็น

               ต้องสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน

                        การมีอยู่ของกฎหมาย (Mere existence) ที่มีหลักจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นเพียง

                                                                                    15
               เงื่อนไขขั้นต้น กฎหมายดังกล่าวต้องสอดคล้องกับ เกณฑ์ด้านคุณภาพ (Quality of the law)  ซึ่งพิจารณา
               ได้จากเนื้อหาสาระของกฎหมายนั้น โดยอาจจำาแนกเป็นเกณฑ์ย่อยได้อีกหลายประการดังจะกล่าวต่อไป หลักการนี้
               ปรากฏในอนุสัญญาอาชญากรรมไซเบอร์ของยุโรป ซึ่งกำาหนดแนวทางการบัญญัติกฎหมายอาชญากรรม

               คอมพิวเตอร์ของประเทศสมาชิกไว้ในมาตรา 15 ว่า “กฎหมายภายในต้องมีมาตรการที่เพียงพอในการปกป้อง

               สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ รวมทั้งสิทธิที่เกิดจากพันธกรณีตามอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่าง
               ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอื่น ๆ”

               หากพิจารณาในกรอบของรัฐธรรมนูญจะเห็นได้ว่า การจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามาตรา 34 ทำาได้
               โดยมีการบัญญัติกฎหมาย แต่กฎหมายนั้นต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขอื่นด้วย ซึ่งจะกล่าวต่อไป ดังนั้น การมีอยู่

               (Existence) ของบทบัญญัติควบคุมเนื้อหาทั้งสามกลุ่ม จึงเป็นเพียงเงื่อนไขขั้นต้น ยังไม่อาจสรุปว่ามาตราเหล่านั้น

               เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแล้ว โดยต้องพิจารณาต่อไปถึงเกณฑ์ด้านคุณภาพว่า กฎหมายดังกล่าวมีความสอดคล้อง
               กับเกณฑ์ด้านสิทธิมนุษยชนอื่นหรือไม่


                        เกณฑ์ก�รปกป้องสิทธิประก�รที่ส�ม : วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องประโยชน์ที่สำ�คัญ

                        กฎหมายที่จำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย

               (Legitimate aim) ในการปกป้องประโยชน์สำาคัญ (Compelling interest, compelling public interest)
               กล่าวคือ เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย (Unlawful, illegal content) จะต้องกระทบถึงประโยชน์สำาคัญที่กฎหมายต้องการ

               ปกป้อง ซึ่งจะต้องเป็นเหตุที่กฎหมายสิทธิมนุษยชนกำาหนดไว้
                        สำาหรับประโยชน์สำาคัญอันเป็นเหตุผลหรือวัตถุประสงค์ของกฎหมายมีตัวอย่างเช่น อนุสัญญา

               สิทธิมนุษยชนยุโรป มาตรา 10 กำาหนดว่า กฎหมายที่จำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ต้องมีวัตถุประสงค์

               “เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงของประเทศ บูรณภาพของดินแดน ความปลอดภัยสาธารณะ ป้องกันความไม่สงบ
               หรืออาชญากรรม ป้องกันสุขภาพหรือศีลธรรม ป้องกันชื่อเสียงหรือสิทธิบุคคลอื่น ป้องกันการเปิดเผยข้อมูลที่เป็น

               ความลับ หรือเพื่อดำารงไว้ซึ่งการใช้อำานาจและความเป็นกลางของกระบวนการยุติธรรม”







                          15      From Liberty And Others v United Kingdom, No. 58243/00, ECtHR , 2008.
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49