Page 43 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 43

42     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






            ตามรัฐธรรมนูญ แต่มีประเด็นว่าการกำาหนดหลักดังกล่าวไว้อย่างกว้างนั้น ได้ดุลยภาพกับการคุ้มครองเสรีภาพ

            ในการแสดงความคิดเห็นและสอดคล้องกับหลักการอื่นในกรอบสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ดังนั้น ผู้เขียนจะนำาหลัก

            กฎหมายสิทธิมนุษยชน ประกอบกับแนวทางตีความของศาลต่างประเทศและนำามาสังเคราะห์เพื่อจำาแนก
            เป็นเกณฑ์ต่าง ๆ ในการวิเคราะห์หลักกฎหมายทั้งสองกลุ่มเพื่อประเมินความสอดคล้องในกรอบสิทธิมนุษยชน



               5     ก�รนำ�เกณฑ์ก�รปกป้องสิทธิมนุษยชนม�วิเคร�ะห์กฎหม�ยที่จำ�กัดเสรีภ�พ

            ในก�รแสดงคว�มคิดเห็นต�มพระร�ชบัญญัติว่�ด้วยก�รกระทำ�คว�มผิดเกี่ยวกับ
            คอมพิวเตอร์ฯ

                     จากหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนดังกล่าวข้างต้นและคำาพิพากษาศาลต่างประเทศ ผู้เขียนสังเคราะห์

            และจำาแนกเป็น 9 เกณฑ์ โดยเรียกว่า เกณฑ์การปกป้องสิทธิเพื่อนำามาใช้วิเคราะห์ และประเมินความสอดคล้อง

            กับหลักสิทธิมนุษยชนของกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามพระราชบัญญัติ
            ว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ดังนี้


                     เกณฑ์ก�รปกป้องสิทธิประก�รที่หนึ่ง : ก�รจำ�กัดเสรีภ�พในก�รแสดงคว�มคิดเห็น ต้องมีพื้นฐ�น
            ท�งกฎหม�ยรองรับ


                     การแสดงความคิดเห็นไม่ใช่สิทธิหรือเสรีภาพเด็ดขาด (Absolute) จึงอาจถูกจำากัดได้ จากกฎหมาย
            สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศข้างต้นจะเห็นถึงข้อยกเว้นในการจำากัดเสรีภาพนี้ โดยกฎหมายสิทธิมนุษยชน

            หลายฉบับระบุว่า ผู้ทำาการสื่อสารหรือแสดงความคิดเห็นต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ  (duty and
            responsibility) แต่การจำากัดเสรีภาพดังกล่าวต้องเกิดจากบทบัญญัติของกฎหมาย เกณฑ์ข้อนี้ปรากฏตาม ข้อ 19

            ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่กำาหนดว่า “...การใช้สิทธิดังกล่าว

            อาจมีข้อจำากัดในบางเรื่อง แต่ทั้งนี้ข้อจำากัดนั้นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมาย...” นอกจากนี้ยังปรากฏใน มาตรา 10 ของ
            อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป ที่วางหลักไว้ว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอาจอยู่ภายใต้ข้อจำากัดหรือเงื่อนไข

            หรือโทษซึ่งกำาหนดโดยกฎหมาย (…prescribed by law…) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

            สะท้อนถึงหลักการนี้ กล่าวคือ มาตรา 34 รับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่มีข้อยกเว้น “โดยอาศัยอำานาจ
            ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย…” เมื่อพิจารณาบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

            จะพบการจำากัดเสรีภาพหลายรูปแบบ เช่น การกำาหนดโทษสำาหรับผู้นำาเข้าสู่ระบบและเผยแพร่ส่งต่อ

            การให้อำานาจรัฐปิดกั้น ระงับเนื้อหา เป็นต้น แต่การจำากัดเสรีภาพดังกล่าวเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
            จึงสอดคล้องกับเกณฑ์ข้อนี้
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48