Page 42 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 42
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561) 41
• การระงับเนื้อหาโดยรัฐหรือการเซ็นเซอร์โดยรัฐ (State censorship) ประกอบด้วยหลักกฎหมาย
ที่ให้อำานาจเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานรัฐปิดกั้นหรือระงับเนื้อหา ได้แก่ การให้อำานาจศาลสั่ง “ทำาลาย” ข้อมูลเนื้อหา
ที่เป็นความผิด และกำาหนดความผิดสำาหรับผู้ครอบครองเนื้อหาข้อมูลที่ถูกสั่งให้ทำาลาย (มาตรา 16/1
มาตรา 16/2) และการให้อำานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอศาลเพื่อออกคำาสั่งลบหรือระงับข้อมูลตามมาตรา 20
ซึ่งแบ่งได้เป็นสองกรณี คือ การขอให้ศาลสั่งระงับการทำาให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ
นี้หรือกฎหมายอื่น (มาตรา 20 วรรคแรก) และการขอให้ศาลสั่งระงับการทำาให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลที่ไม่เป็น
ความผิดตามกฎหมายแต่ “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” (มาตรา 20 วรรคสอง)
• การระงับเนื้อหาหรือการเซ็นเซอร์โดยภาคเอกชน (Private censorship) โดยอาศัยกลไก
การแจ้งเตือนและระงับเนื้อหา (Notice and takedown) หลักการนี้ปรากฏในมาตรา 15 ซึ่งกำาหนดความรับผิด
แก่ผู้ให้บริการที่ “ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจ” กับผู้ใช้งานที่เป็นผู้เผยแพร่เนื้อหาอันเป็นความผิด
มาตรา 14 จากนั้นจึงวางข้อยกเว้นโทษหากผู้ให้บริการดำาเนินการตามกระบวนการแจ้งเตือนและระงับเนื้อหา
ผลของหลักกฎหมายนี้ทำาให้ผู้ให้บริการดำาเนินการตรวจสอบคัดกรองเนื้อหาหรือเซ็นเซอร์เพื่อได้ประโยชน์
จากข้อยกเว้นโทษ จึงจัดอยู่ในกลุ่มการปิดกั้นหรือระงับเนื้อหาโดยภาคเอกชน
หลักกฎหมายทั้งสองกลุ่ม เป็นการจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา 34 ซึ่งโดยหลักแล้วกฎหมายดังกล่าวจะเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามมาตรา 5 แห่งรัฐธรรมนูญฯ
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 26 บัญญัติว่า “การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำากัดสิทธิหรือเสรีภาพ
ของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมาย
ดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ
และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำาเป็นในการจำากัดสิทธิ
และเสรีภาพไว้ด้วย” เมื่อพิจารณาเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามมาตรา 34 จะพบว่า รัฐธรรมนูญกำาหนด
ข้อยกเว้นว่าเสรีภาพดังกล่าวอาจถูกจำากัดภายใต้เงื่อนไข “...บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษา
ความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน” ดังนั้น ประเด็นสำาคัญก็คือ หากหลักกฎหมายทั้งสองกลุ่ม
ข้างต้นอยู่ในความหมายของ “บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อ…” อันเป็นข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญ
ก็จะถือว่าเข้าข้อยกเว้นและใช้บังคับได้ แต่มีประเด็นต่อไปว่า ลำาพังเพียงตรากฎหมายที่จำากัดเสรีภาพในการแสดง
ความคิดเห็นโดยอ้างหรือระบุเหตุ “ความมั่นคงของรัฐ ฯลฯ” จะถือว่าเพียงพอที่จะสอดคล้องกับเงื่อนไขนี้
หรือไม่ ตัวอย่างเช่น มาตรา 14 (2) กำาหนดความผิดสำาหรับการเผยแพร่ส่งต่อเนื้อหาข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิด
ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ จากตัวบทจะเห็นถึงการอ้างเหตุรักษาความมั่นคงของรัฐ