Page 41 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 41
40 วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
และไม่จำากัดเฉพาะการแสดงความคิดเห็นโดยแท้ (Pure speech) เช่น การพิมพ์ข้อความหรือถ่ายทอดวีดีโอ
สื่อสารความคิดเห็น แต่รวมถึง แสดงความคิดเห็นในเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic speech) ซึ่งอาจเกิดได้
หลากหลายรูปแบบ และมีความแตกต่างกันไปตามช่องทางและสภาพเทคโนโลยี เช่น ผู้ให้บริการ สื่อสังคมออนไลน์
จัดให้มีปุ่มสัญลักษณ์ที่ให้ผู้ใช้บริการกดเพื่อแสดงความชื่นชอบ ไม่ชื่นชอบ ตกใจ ดีใจ เสียใจ ฯลฯ การกดปุ่ม
ดังกล่าวจัดเป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงสัญลักษณ์ หรือการส่งภาพการ์ตูนแสดงอารมณ์หรือความรู้สึก
ทางโปรแกรมประยุกต์เพื่อการสนทนาก็เป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงสัญลักษณ์ได้เช่นกัน การสื่อสารเหล่านี้
เทียบได้กับการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ที่กระทำาทางกายภาพดังกล่าวข้างต้น เช่น การโบกธง การติดป้ายสัญลักษณ์
และอื่น ๆ ดังนั้น การที่กฎหมายจำากัดหรือควบคุมการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงกระทบเสรีภาพ
ในการแสดงความคิดเห็น
4 ผลกระทบของหลักกฎหม�ยต�มพระร�ชบัญญัติว่�ด้วยก�รกระทำ�คว�มผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ต่อเสรีภ�พในก�รแสดงคว�มคิดเห็น
หลักกฎหมายซึ่งส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามพระราชบัญญัตินี้ ประกอบ
ด้วยหลักและกลไกหลายลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขกฎหมายในปี 2560 สะท้อนให้เห็นถึงการให้
ความสำาคัญกับการควบคุมเนื้อหาข้อมูลโดยมีการเพิ่มเติมและขยายขอบเขตกลไกทางกฎหมาย ซึ่งจำาแนกเป็น
สองกลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่หนึ่ง ฐ�นคว�มผิดเกี่ยวกับเนื้อห� (ม�ตร� 14 - 16) ซึ่งกำาหนดองค์ประกอบความผิด
และโทษสำาหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่กฎหมายกำาหนดให้เป็นเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย
(Unlawful, illegal content) เช่น ผู้นำาเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อ (มาตรา 14) ผู้ให้บริการ
ที่ต้องรับผิดในเนื้อหาอันเกิดจากผู้ใช้บริการ (มาตรา 15) ผู้ครอบครอง (มาตรา 16/2) เป็นต้น จากหลักของเสรีภาพ
ในการแสดงความคิดเห็นที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า หลักกฎหมายกลุ่มนี้ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดง
ความคิดเห็นในแง่ของการส่งข้อมูล นอกจากนี้ ยังส่งผลในแง่การรับข้อมูลและแสวงหาข้อมูล เนื่องจากข้อมูล
ที่ศาลตัดสินว่าผิดอาจถูกสั่งให้ลบหรือทำาลาย รวมทั้งผู้ที่จะเผยแพร่ข้อมูลแสดงความคิดเห็นอาจรู้สึกกังวลกับ
โอกาสของการถูกดำาเนินคดีจึงทำาให้ยุติการสื่อสาร ส่งผลให้ผู้ที่รับสารไม่สามารถเข้าถึงหรือพบเห็นข้อมูลนั้น
กลุ่มที่สอง หลักกฎหมายเกี่ยวกับการปิดกั้น ลบ ทำาลาย หรือระงับการทำาให้แพร่หลายซึ่งเนื้อหา
หรืออาจเรียกโดยรวมว่าการเซ็นเซอร์ (Censorship) จากหลักของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่กล่าว
ข้างต้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายกลุ่มนี้ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทั้งในแง่ของแสวงหา
เข้าถึง และเผยแพร่ข้อมูล โดยแยกเป็น 2 กลุ่มย่อยดังนี้