Page 40 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 40

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  39






               ในการแสวงหาข้อมูล (seek) ได้รับข้อมูล (receive) ส่งต่อหรือเผยแพร่ข้อมูล (Impart) โดยไม่คำานึงถึงพรมแดน

                                                                                        6
               ดังนั้น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจึงเป็นสิทธิที่มีความหมายหลายนัย (Multi-faceted right)  รวมถึง
               การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การโพสต์ การอัพโหลด การแชร์ การรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การอ่าน ดู ฟัง
               การบันทึก และ การสืบค้นข้อมูล ด้วยเหตุนี้ กฎหมายที่ห้ามหรือจำากัดการกระทำาดังกล่าว เช่น กำาหนดความผิด

               สำาหรับผู้โพสต์ หรือเผยแพร่ข้อมูลด้วยวิธีการใด โดยหลักแล้วส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

                        การแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ อาจแสดงออกได้หลายลักษณะ
               รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่หนึ่ง (First amendment) คุ้มครองเสรีภาพในการแสดง

               ความคิดเห็น (Speech) จากแนวคำาวินิจฉัยของศาล สามารถแบ่งได้สองกลุ่ม คือ (1) การแสดงความคิดเห็นโดยแท้
               (Pure speech) ซึ่งหมายถึง คำาพูดหรือการกระทำาที่จำาเป็นในการสื่อสารความคิด (2) การแสดงความคิดเห็น

               ในเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic speech) ซึ่งไม่ได้มีลักษณะของการสื่อสารในลักษณะข้อความหรือลายลักษณ์อักษร

               อย่างชัดเจน  แต่เป็นการสื่อความหมายด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น การโบกธง  การประท้วงหรือคัดค้าน
                                                                           8
                        7
                                                9
               โดยการรวมตัวกันโดยสงบ (Sit-in protesting)  การใส่เสื้อมีข้อความคัดค้านการเกณฑ์ทหาร  การนำาสัญลักษณ์
                                                                                 10
                                                          12
               ที่หมายถึงสันติไปประกอบกับธงชาติ  การเดินขบวนพาเหรด  การแสดงออกเหล่านี้ศาลในสหรัฐอเมริกาตัดสินว่า
                                         11
               เป็นการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ แนวทางนี้คล้ายคลึงกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนยุโรป ศาลตัดสินว่า
               การแสดงความคิดเห็นมีความหมายกว้าง นอกจากลายลักษณ์อักษรหรือคำาพูดแล้ว ยังรวมถึงการกระทำา
                                                                                             13
               การแสดงสัญลักษณ์  เป็นต้น
                             14
                        ตามกฎหมายไทย รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 34 ระบุว่า “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด

               การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” ในกรอบของการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์

               การแสดงความคิดเห็นจึงไม่จำากัดในแง่รูปแบบ รวมถึง ข้อความ ตัวอักษร ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง สื่อผสม





                          6      From Freedom of expression, by A. Puddephatt, 2005, In The Essentials of Human
               Rights (p. 128), by R. K. M. Smith & C. van den Anker, London : Hodder Arnold.
                          7       From Hurley v. Irish-Am. Gay, Lesbian & Bisexual Grp., 515 U.S. 557, 569 (1995).
                          8       From Stromberg v. California, 283 U.S. 359 (1931).
                          9       From Brown v. Louisiana, 383 U.S. 131, 141-42 (1966).
                          10      From Cohen v. California, 403 U.S. 15 (1971).
                          11      From Spence v. California, 418 U.S. 405 (1974).
                          12      From Hurley v. Irish-American Gay, Lesbian & Bisexual Group, 515 U.S. 557, 569-71
               (1995).
                          13      From Steel and Others v. the United Kingdom, 23 September 1998.
                          14      From Vajnai v. Hungary, 8 July 2008.
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45