Page 39 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 39

38     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






                         การใช้เสรีภาพนี้ประกอบด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยอาจอยู่ภายใต้ข้อจำากัด

            หรือเงื่อนไขหรือโทษซึ่งกำาหนดโดยกฎหมายที่จำาเป็นในระบอบประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์ของความมั่นคง

            ของประเทศ บูรณภาพของดินแดน ความปลอดภัยสาธารณะ ป้องกันความไม่สงบหรืออาชญากรรม ป้องกันสุขภาพ
            หรือศีลธรรม ป้องกันชื่อเสียงหรือสิทธิบุคคลอื่น ป้องกันการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ หรือ เพื่อดำารงไว้ซึ่ง

            การใช้อำานาจและความเป็นกลางของกระบวนการยุติธรรม”

                         ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Court of Human Rights หรือ ECtHR) มีแนวทาง
            ตีความและปรับใช้มาตรา 10 ในหลายคดีที่มีประเด็นกฎหมายภายในประเทศสมาชิกจำากัดเสรีภาพในการแสดง

            ความคิดเห็น ซึ่งผู้เขียนจะได้นำามาวิเคราะห์ต่อไป



                     2.5 หลักกฎหม�ยเกี่ยวกับเสรีภ�พในก�รแสดงคว�มคิดเห็นต�มรัฐธรรมนูญ
            แห่งร�ชอ�ณ�จักรไทย พุทธศักร�ช 2560

                         เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นปรากฏอยู่ใน มาตรา 34 ซึ่งมีหลักว่า

                         “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา
            และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติ

            แห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษา

            ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน
                         เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่

            ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น”

                         หลักการดังกล่าวมีข้อยกเว้นหรือข้อจำากัด โดยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ มาตรา 26
            ดังจะกล่าวต่อไป



               3     ก�รสื่อส�รข้อมูลอันเป็นก�รแสดงคว�มคิดเห็น

                     การสื่อสารข้อมูลที่จะได้รับการคุ้มครองในฐานะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น จะต้องอยู่ใน

            ความหมายของ “การแสดงความคิดเห็น” ซึ่งไม่จำากัดเฉพาะการส่งข้อมูลหรือผู้ส่งสารเท่านั้น จากมาตรา 19
            ของ ICCPR และความเห็นทั่วไปขององค์การสหประชาชาติ  เน้นยำ้าว่า รัฐภาคีมีพันธกรณีในการคุ้มครองสิทธิ
                                                       5



                       5      From General Comment No. 34 on Article 19: Freedoms of opinion and expression
            of the International Covenant on Civil and Political Rights, 2011. Retrieved from https://www2.ohchr.
            org /english/bodies/hrc/docs/gc34.pdf
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44