Page 38 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 38

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  37






                              (ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น

                              (ข) การรักษาความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยหรือการสาธารณสุขหรือศีลธรรม

                                   ของประชาชน
                            ประเทศไทยได้ภาคยานุวัติ (Accession) เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง

               และสิทธิทางการเมือง (ICCPR) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยไม่ได้ตั้งข้อสงวน และมีผลใช้บังคับ

               กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540 ดังนั้น หากกฎหมายของไทยจำากัดเสรีภาพในการแสดง
               ความคิดเห็นโดยไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวข้างต้นก็จะเป็นการไม่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศด้วย



                        2.3 อนุสัญญ�อ�ชญ�กรรมไซเบอร์ของยุโรป (The Council of Europe Convention

               on Cybercrime)

                            อนุสัญญานี้วางหลักปกป้องสิทธิ (Safeguard) ไว้ในมาตรา 15 ว่ากฎหมายภายในที่ให้อำานาจ
               เจ้าหน้าที่กระทำาการอันกระทบสิทธิจะต้อง “มีมาตรการที่เพียงพอในการปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ”

               แต่หลักดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณา (Procedural law) หรือการสืบสวนสอบสวน
               อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เช่น กฎหมายที่ให้อำานาจตรวจค้น เข้าถึง หรือได้มาซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งอยู่ใน

               กรอบของสิทธิมนุษยชนในแง่ความเป็นอยู่ส่วนตัว แต่สำาหรับสิทธิมนุษยชนในแง่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

               อนุสัญญาฯ ไม่ได้กำาหนดแนวทางของหลักกฎหมายที่กำาหนดควบคุมเนื้อหา หรือให้อำานาจหน่วยงานรัฐ
               ปิดกั้นหรือระงับเนื้อหาข้อมูล เนื่องจากอนุสัญญาฯ ไม่ได้กำาหนดฐานความผิดเกี่ยวกับเนื้อหาไว้ดังเช่น กฎหมาย

               ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของไทย
                                          4


                        2.4 อนุสัญญ�สิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Convention on Human Rights)

                            อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Convention on Human Rights : ECHR)

               (เดิมคือ Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) วางหลัก
               คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of expression) ไว้ในมาตรา 10 ดังนี้

                            “บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแสดงความคิดเห็น สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพในการยึดถือความเห็น
               รับและสื่อสารข้อมูลและความคิดโดยปราศจากการแทรกแซงโดยหน่วยงานรัฐและไม่คำานึงถึงเขตแดน มาตรานี้

               ไม่ห้ามรัฐในการกำาหนดให้มีใบอนุญาตสำาหรับการสื่อสารทางโทรทัศน์หรืออุตสาหกรรมภาพยนตร์



                          4     ความผิดเกี่ยวกับเนื้อหา (content related crime) ตามอนุสัญญานี้จำากัดเฉพาะสื่อลามกเด็ก
               (Child pornography)
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43