Page 36 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 36

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  35






                        มิติที่สอง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of speech) ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

               พุทธศักราช 2560 รับรองไว้ในมาตรา 34 ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด

               การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำามิได้
               เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครอง

               สิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกัน

               สุขภาพของประชาชน” หลักกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำานี้ที่ส่งผลกระทบเป็นการจำากัดเสรีภาพ
               ในการแสดงความคิดเห็น แบ่งเป็นสองส่วน คือ (1) ฐานความผิดอาญาสำาหรับผู้ทำาการสื่อสารเนื้อหาข้อมูล

               ผิดกฎหมาย (Illegal content) ซึ่งปรากฏในมาตรา 14 - 16 และ (2) มาตรการปิดกั้นหรือระงับการทำาให้แพร่หลาย
               ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งปรากฏในหลายมาตรา เช่น 15 และ 20 หลักกฎหมายทั้งสองส่วนส่งผลเป็นการจำากัด

               เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เมื่อพิจารณาหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและคำาพิพากษา

               ศาลต่างประเทศจะพบว่า ลำาพังการตรากฎหมายจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยอ้างเหตุเพื่อปกป้อง
               ประโยชน์บางประการ เช่น “ความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบ

               เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน” นั้นเป็นเพียงเงื่อนไขเบื้องต้น
               แต่ยังต้องพิจารณาต่อไปว่ากฎหมายเหล่านั้นให้นำ้าหนักกับประโยชน์ดังกล่าวมากเกินไปหรือไม่ จากหลักกฎหมาย

               สิทธิมนุษยชนและแนวคำาพิพากษาต่างประเทศพบว่า ศาลนำาหลักหลายประการมาใช้ชั่งนำ้าหนักเพื่อหาจุด

               ดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการควบคุมเนื้อหาตามกฎหมายที่บัญญัติ
               เพื่อปกป้องประโยชน์บางประการ เช่น ความมั่นคง ฯลฯ ซึ่งผู้เขียนสังเคราะห์และจำาแนกออกมาเป็นเกณฑ์

               การปกป้องสิทธิ 9 เกณฑ์ เพื่อนำามาใช้ประเมินความสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนของกฎหมายที่จำากัดเสรีภาพ

               ในการแสดงความคิดเห็นตามพระราชบัญญัตินี้ โดยจะเริ่มจากการชี้ให้เห็นหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับ
               เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์

               ที่จัดเป็นการแสดงความคิดเห็น ผลกระทบของหลักกฎหมายตามพระราชบัญญัตินี้กับเสรีภาพในการแสดง

               ความคิดเห็น และการนำาเกณฑ์ปกป้องสิทธิมนุษยชนมาประเมินความสอดคล้องของหลักกฎหมายที่จำากัดเสรีภาพ
               ในการแสดงความคิดเห็น
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41