Page 35 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 35
34 วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
เกณฑ์สำ�หรับก�รประเมินคว�มสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนของหลักกฎหม�ย
ที่จำ�กัดเสรีภ�พในก�รแสดงคว�มคิดเห็น
ต�มพระร�ชบัญญัติว่�ด้วยก�รกระทำ�คว�มผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2550 ที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560
1 บทนำ�
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่แก้ไขฉบับที่ 2
พ.ศ. 2560 มีหลักกฎหมายสองกลุ่มซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนในสองมิติ ดังนี้
มิติที่หนึ่ง สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว (Right to privacy) โดยเฉพาะเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร
ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รับรองไว้ในมาตรา 36 ว่า “การตรวจ การกัก
หรือการเปิดเผยข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกัน รวมทั้งการกระทำาด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูล
ที่บุคคลสื่อสารถึงกันจะกระทำามิได้ เว้นแต่มีคำาสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ”
หลักกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตามที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
มิตินี้ คือ การให้อำานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ “ได้มาหรือเข้าถึง” ข้อมูลการสื่อสารของประชาชน หรือที่เรียกกันว่า
กฎหมายเกี่ยวกับการดักรับหรือสอดแนมข้อมูล (Interception or Surveillance) ปรากฏอยู่ในมาตรา 18
และ 19 ตลอดจนการกำาหนดหน้าที่ผู้ให้บริการให้จัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบสวนสอบสวน
ความผิด เป็นต้น จะเห็นได้ว่า หลักกฎหมายเหล่านี้มีผลเป็นการจำากัดสิทธิเสรีภาพดังกล่าว ประเด็นสำาคัญในแง่
สิทธิมนุษยชน คือ หลักกฎหมายที่ให้อำานาจดังกล่าวจัดอยู่ในข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งเป็นการชั่งนำ้าหนัก
ระหว่างกฎหมายที่ให้อำานาจเข้าถึงหรือได้มาซึ่งข้อมูลกับการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว โดยจะต้อง
นำาเกณฑ์ด้านสิทธิมนุษยชนมาประกอบการชั่งนำ้าหนัก ลำาพังเพียงมีกฎหมายให้อำานาจและมีการตรวจสอบโดยศาล
เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบด้วย ซึ่งผู้เขียนได้นำาหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศและคำาพิพากษาที่เกี่ยวข้อง มาสังเคราะห์และจำาแนกออกมาเป็นเกณฑ์การปกป้องสิทธิ 9 เกณฑ์
1
เพื่อนำามาใช้ประเมินความสอดคล้องกับบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวโดยนำาเสนอเป็นอีกบทความหนึ่ง สำาหรับ
บทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงหลักกฎหมายตามพระราชบัญญัตินี้ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนในอีกมิติหนึ่ง
คือ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
1 จาก “เกณฑ์การปกป้องสิทธิมนุษยชนสำาหรับการประเมินความสอดคล้องของหลักกฎหมายที่ให้อำานาจ
เข้าถึงหรือได้มาซึ่งข้อมูลการสื่อสารของบุคคลในระบบคอมพิวเตอร์ ตาม พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่แก้ไข
ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560,” โดย คณาธิป ทองรวีวงศ์, 2561, วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน, 3(1), น. 7-40. ลิขสิทธิ์ 2561
โดย สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.