Page 80 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 80
63
(ข)
(ก)
ภาพที่ 4.2 พื้นที่น้้าท่วมซ้้าซากประเทศไทยปี พ.ศ. 2549 (ก) พื้นที่น้้าท่วมซ้้าซากประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 (ข)
ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน (2550)(ก), กรมพัฒนาที่ดิน (2562ข)(ข)
3) ปัญหาคุณภาพน าผิวดิน
ในปี พ.ศ. 2561 มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้้าจากแหล่งน้้าส้าคัญทั่วประเทศไทย
จ้านวน 65 แหล่งน้้า แม่น้้าสายหลักของประเทศ 59 แม่น้้า และแหล่งน้้านิ่ง 6 แหล่ง จากการ
ตรวจสอบพบว่าแหล่งน้้าที่มีดัชนีคุณภาพน้้าอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 46 เกณฑ์พอใช้ร้อยละ 45 และ
เกณฑ์เสื่อมโทรมร้อยละ 9 ไม่มีแหล่งน้้าที่มีคุณภาพน้้าอยู่ในเกณฑ์ดีมากหรือเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก
และเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2560 ที่มีแหล่งน้้าซึ่งอยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 83
เป็นร้อยละ 91 และแหล่งน้้าที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมลดลงจากร้อยละ 17 เป็นร้อยละ 9 ทั้งนี้
เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้้าผิวดินในแต่ละภูมิภาค พบว่า แหล่งน้้าที่มีคุณภาพน้้าดีที่สุดอยู่ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และแหล่งน้้าที่มีคุณภาพน้้าเสื่อมโทรมที่สุดอยู่ในภาคกลางเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
โดยแหล่งน้้าที่มีคุณภาพน้้าเสื่อมโทรมที่สุด คือ แม่น้้าเจ้าพระยาตอนล่าง (ช่วงอ้าเภอเมือง
สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ถึงอ้าเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการ
ปล่อยน้้าเสียจากแหล่งชุมชน กิจกรรมทางการเกษตร และอุตสาหกรรม ขณะที่พื้นที่แหล่งน้้าที่มี
คุณภาพดีที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) แม่น้้าตาปีตอนบน (2) แควน้อย (3) อูน (4) สงคราม และ (5) ชี