Page 75 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 75
58
ลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตวิกฤตการณ์น้้าบาดาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นอกจากนี้
ยังพบว่าระดับน้้าบาดาลในชั้นน้้าบาดาลที่ความลึกน้อยกว่า 150 เมตร ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี
ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ มีแนวโนมเพิ่มขึ้น ขณะที่ระดับน้้าบาดาลในชั้นน้้า
บาดาลที่ความลึกมากกวา 150 เมตร ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร และพระนครศรีอยุธยา
มีแนวโนมลดลง (กรมทรัพยากรน้้าบาดาล, 2562ข)
อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาน้้าบาดาลขึ้นมาใช้นั้น มีข้อจ้ากัดในเรื่องของความคุ้มทุน เนื่องจาก
มีค่าใช้จ่าย (ค่าไฟฟ้า/ค่าน้้ามัน/ค่าบ้ารุงรักษา) ในการสูบน้้า อีกทั้งก่อนท้าการเจาะบ่อน้้าบาดาล
จ้าเป็นต้องมีการส้ารวจเพื่อให้สามารถก้าหนดจุดเจาะบ่อน้้าบาดาลที่มีปริมาณและคุณภาพน้้าบาดาล
ที่ดี โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นหินแข็งและพื้นที่น้้าเค็มซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการด้าเนินการส้ารวจค่อนข้างสูง
(ส้านักงานทรัพยากรน้้าแห่งชาติ, 2562)
ตารางที่ 4.5 ปริมาณน้้าบาดาลที่กักเก็บของประเทศไทยปี พ.ศ. 2562
ภูมิภาค ปริมาณน าบาดาลที่กักเก็บ ร้อยละของปริมาณน าบาดาลที่
(ลูกบาศก์เมตร) กักเก็บทั งประเทศ
ภาคเหนือ 166,860 14.7
ภาคกลาง 412,856 36.3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 241,312 21.2
ภาคตะวันออก 53,197 4.7
ภาคตะวันตก 63,710 5.6
ภาคใต้ 199,779 17.6
รวม 1,137,713 100.0
ที่มา: กรมทรัพยากรน้้าบาดาล (2562ก)
3) ปริมาณน าในเขื่อน
เขื่อนท้าหน้าที่กักเก็บน้้าในช่วงฤดูน้้าหลากและปล่อยน้้าเพื่อใช้ส้าหรับภาคเกษตรกรรม
อุปโภคบริโภค หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ในช่วงขาดแคลนน้้า ขณะเดียวกัน เขื่อนสามารถป้องกัน
น้้าท่วมฉับพลันในฤดูน้้าหลากได้ และยังช่วยชะลอความเร็วของน้้าโดยให้น้้าที่สูงกว่าระดับที่ต้องการ
ไหลผ่าน ปัจจุบันเขื่อนบางแห่งยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ รวมถึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและ
กิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ ประเทศไทยมีเขื่อนทั้งสิ้น 36 แห่ง ด้วยศักยภาพความจุที่ระดับน้้าเก็บกัก
70,926 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562 พบว่า ปริมาตรน้้าในเขื่อนมีแนวโน้ม
ลดลงโดยมีค่าเท่ากับ 59,875 55,459 และ 40,608 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามล้าดับ (ตารางที่ 4.6)
ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศ (มิลลิเมตร) ของประเทศไทย (ภาพที่ 4.1)