Page 78 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 78

61



                              ในปี พ.ศ. 2562 พบว่ามีบางจังหวัดที่ได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
                       กรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือ

                       ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 จ้านวน 14 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน นครพนม

                       มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ อุทัยธานี
                       นครราชสีมา และอุตรดิตถ์ รวมทั้งสิ้น 69 อ้าเภอ 420 ต้าบล 3,785 หมู่บ้าน/ชุมชน (ศูนย์อ้านวยการ

                       เฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้ง ปี 2562/2563 กรมชลประทาน, 2563)

                              ทั้งนี้ สถานการณ์ภัยแล้งในฤดูปี พ.ศ. 2563 ยังได้เกิดขึ้นเร็วกว่าปี พ.ศ. 2562 โดยในปี พ.ศ.
                       2562 ประเทศไทยประสบภาวะภัยแล้งอย่างหนักเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงฤดูแล้ง เกิด

                       ภาวะฝนทิ้งช่วง และมีฝนตกน้อยเมื่อถึงฤดูฝนซึ่งสอดคล้องกับปริมาตรน้้าในเขื่อนดังตารางที่ 4.6

                       จนส่งผลกระทบให้น้้าต้นทุนในเขื่อนที่กักเก็บไว้ส้าหรับใช้ในฤดูแล้งปี พ.ศ. 2563 มีน้อยตามไปด้วย
                       โดยข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ปรากฏว่ามีจังหวัดที่ได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ

                       ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 30 จังหวัด 183 อ้าเภอ 1,004 ต้าบล 4 เทศบาล 8,805 หมู่บ้าน/

                       ชุมชน เช่น เชียงใหม่ น่าน เพชรบูรณ์ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ ตาก ขอนแก่น สกลนคร ชัยภูมิ และ
                       กาฬสินธุ์ เป็นต้น โดยสร้างความเสียหายครอบคลุมพื้นที่ทางการเกษตรกว่า 1.78 ล้านไร่ จ้าแนกเป็น

                       นาข้าว 1.56 ล้านไร่ พืชไร่ 2 แสนไร่ และพืชสวน 5 พันไร่ เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบกว่า 1.86 แสนราย

                       หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 8,824.79 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบมาก
                       ที่สุดมีมูลค่าความเสียหาย 3,652.20 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.39 ของมูลค่าความเสียหายรวม

                       รองลงมาคือ ภาคเหนือ มูลค่าความเสียหาย 2,801.01 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.74 ของมูลค่า

                       ความเสียหายรวม (ส่วนติดตามและวิเคราะห์ภัยพิบัติทางการเกษตร, 2563)


                              2) ปัญหาน  าท่วม

                               ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ประสบปัญหาน้้าท่วมเกือบทุกจังหวัดของประเทศ
                       เช่น ในปี พ.ศ. 2515, 2518, 2521, 2523, 2526, 2532, 2538, 2544, 2545, 2548, 2549, 2553

                       และ 2554 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก

                       (ส้านักงานทรัพยากรน้้าแห่งชาติ, 2562) โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาอุทกภัยในปลายปี พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็น
                       อุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 70 ปี ของประเทศไทย มีสาเหตุจากฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างและสะสม

                       ต่อเนื่องตลอดทั้งฤดูฝนจากอิทธิพลของมรสุมและพายุ จ้านวน 5 ลูก ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม

                       ถึง 31 ตุลาคม ของปีดังกล่าว ประเทศไทยมีปริมาณฝนตกสะสม 1,822.4 มิลลิเมตร ซึ่งสูงกว่าค่าปกติ
                       (เฉลี่ย 30 ปี) ถึงร้อยละ 28 หรือ เฉพาะภาคเหนือมีปริมาณฝนตกสะสมมากกว่าค่าปกติถึงร้อยละ 42

                       ปริมาณน้้าฝนดังกล่าวจึงสะสมเป็นมวลน้้าจ้านวนมหาศาลส่งผลให้ทางไหลของน้้าตามธรรมชาติไม่
                       สามารถรองรับได้จึงเอ่อล้นท่วมขังพื้นที่ภาคเหนือตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม และแผ่ขยายเป็นวงกว้าง
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83