Page 79 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 79
62
ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งในเขตพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
รวมทั้งสิ้น 64 จังหวัด (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2554) ด้วยมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า
1.44 ล้านล้านบาท (ส้านักงานทรัพยากรน้้าแห่งชาติ, 2562) จากนั้น ประเทศไทยยังคงประสบปัญหา
น้้าท่วมอย่างต่อเนื่องในทุกปีทั้งในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางที่ส่วนใหญ่เป็นเขตพื้นที่น้้าท่วมซ้้าซาก หรือ
น้้าท่วมซ้้าซากเป็นครั้งคราวที่พบใหม่ในบางจังหวัดซึ่งสร้างความเสียหายอย่างฉับพลัน เช่น สกลนคร
และขอนแก่น เป็นต้น
ในช่วงเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนที่ส้าคัญ 2 ครั้ง
ได้แก่ พายุโซนร้อน “ตาลัส” (Talas) และ “เซินกา” (Sonca) มีผลให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากเป็น
บริเวณกว้างในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนครมีปริมาณน้้าฝนสะสม
ระหว่างวันที่ 27-28 กรกฎาคม สูงถึง 245 มิลลิเมตร ทั้งนี้ นอกจากฝนที่ตกหนักแล้วด้วยสภาพภูมิ
ประเทศและการวางผังเมืองของตัวเมืองสกลนครที่เป็นแหล่งรองรับน้้าจากภูเขา รวมถึงโครงสร้าง
สาธารณูปโภค เช่น ถนน อาคาร กีดขวางทางน้้าและการถมคูคลอง ส่งผลให้พื้นที่เขตเทศบาลเมือง
สกลนครต้องประสบพิบัติภัยทางน้้าที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงที่สุดในรอบ 20 ปี ด้วยมูลค่า
ความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท (ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ, 2561)
ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยได้รับผลกระทบ
จากพายุโซนร้อน “โพดุล” ส่งผลให้หลายจังหวัดของประเทศไทยประสบภัยน้้าท่วม เช่น แพร่ พิจิตร
น่าน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี
อุบลราชธานี อ้านาจเจริญ มุกดาหาร และ สกลนคร เป็นต้น ส้าหรับจังหวัดขอนแก่นนั้นพบว่าประสบ
ปัญหาน้้าท่วมฉับพลันในเขตพื้นที่อ้าเภอบ้านไผ่ โดยเฉพาะเขตเทศบาลบ้านไผ่ และบริเวณถนน
มิตรภาพซึ่งส่งผลกระทบต่อการสัญจร (กรมชลประทาน, 2562) สอดคล้องกับพื้นที่น้้าท่วม
ซ้้าซากของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นกว่า 16.20 ล้านไร่ เมื่อเปรียบเทียบในปี พ.ศ. 2549 (กรมพัฒนา
ที่ดิน, 2550) กับปี พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2561 สามารถจ้าแนกพื้นที่น้้าท่วมซ้้าซากเป็นประจ้า
(ประสบน้้าท่วมขัง 8-10 ครั้งในรอบ 10 ปี) ประมาณ 1.60 ล้านไร่ พื้นที่น้้าท่วมซ้้าซากบ่อยครั้ง
(ประสบน้้าท่วมขัง 4-7 ครั้งในรอบ 10 ปี) ประมาณ 11.66 ล้านไร่ และพื้นที่น้้าท่วมซ้้าซากเป็นครั้ง
คราว (ประสบน้้าท่วมขังไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี) ประมาณ 13.50 ล้านไร่ รวมมีพื้นที่น้้าท่วมขัง
ซ้้าซากประมาณ 26.75 ล้านไร่ (ภาพที่ 4.2-(ก)(ข)) (กรมพัฒนาที่ดิน, 2562ข)