Page 82 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 82
65
4) ปัญหาคุณภาพน าบาดาล
น้้าบาดาลโดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นน้้าคุณภาพดี กล่าวคือ อยู่ในมาตรฐานน้้าบาดาลที่ใช้บริโภค
ได้ตามพระราชบัญญัติน้้าบาดาลปี พ.ศ. 2520 อย่างไรก็ตาม ยังมีบางพื้นที่ที่มีปริมาณสารละลายใน
น้้าบาดาลสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานน้้าดื่ม เช่น ในบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ล้าพูน แพร่ ล้าปาง และ
กาญจนบุรี มีแร่เหล็กและฟลูออไรด์สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในพื้นที่ที่มี
ความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนและแหล่งน้้าพุร้อนหรือเป็นผลจากสภาพทางธรณีวิทยาและอุทกธรณีวิทยา
ขณะเดียวกันในบางพื้นที่อาจพบปัญหาการรุกล้้าของน้้าเค็มในชั้นน้้าบาดาลส่งผลให้คุณภาพน้้า
บาดาลกร่อยหรือเค็มเพิ่มขึ้น กระทั่งอาจเปลี่ยนคุณภาพน้้าบาดาลในบางจุดจากจืดเป็นกร่อยเค็มซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ตามแนวปากแม่น้้าและชายฝั่งทะเล เช่น พื้นที่แม่น้้าเจ้าพระยา และจังหวัดสงขลา
ที่อาจมีสาเหตุจากการสูบน้้าบาดาลขึ้นมาใช้เกินสมดุล ขณะที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางพื้นที่มี
คุณภาพน้้าบาดาลกร่อย-เค็ม ไม่เหมาะส้าหรับการอุปโภค-บริโภค และเกษตรกรรม เช่น จังหวัด
ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ทั้งนี้ ในบางพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
พบสารหนูที่อาจมีสาเหตุจากการปนเปื้อนตามธรรมชาติของแร่ธาตุในชั้นหินใต้ดินและจากการท้า
เหมืองแร่ดีบุก นอกจากนี้ บางพื้นที่ที่มีการลักลอบทิ้งขยะชุมชน ขยะพิษ น้้าเสีย แหล่งรับก้าจัดกาก
ของเสียอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรม อาจตรวจพบปริมาณโลหะหนักเป็นพิษและสารอินทรีย
ระเหยง่ายเกินเกณฑมาตรฐานน้้าบาดาลซึ่งของเสียเหล่านั้นอาจถูกชะล้างลงไปปนเปื้อนในชั้นน้้า
บาดาลได้ (กรมทรัพยากรน้้าบาดาล, 2562ข; ส้านักงานทรัพยากรน้้าแห่งชาติ, 2562)
5) ปัญหาน าทะเลหนุน
น้้าทะเลหนุน หมายถึง น้้าทะเลที่เคลื่อนไหวขึ้นหรือลงโดยธรรมชาติ โดยมีช่วงที่น้้าทะเล
หนุนสูงสุดระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคมของทุกปี (วิรัตน์ ท้าทอง, 2548) น้้าทะเลหนุนส่วนใหญ่จะ
ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่มีรอยต่อกับการขึ้นหรือลงของน้้าทะเล โดยเฉพาะพื้นที่ปากแม่น้้าภาคกลางที่
ติดทะเล เช่น กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และสมุทรสงคราม เป็นต้น การหนุนของน้้าทะเลถือ
เป็นอีกหนึ่งปัจจัยส้าคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาน้้าท่วมในเขตพื้นที่ภาคกลางเพราะท้าให้มีปริมาณน้้าเพิ่ม
สูงขึ้น ขณะเดียวกันมวลน้้าจากทางเหนือย่อมไม่สามารถไหลลงสู่ทะเลได้เนื่องจากน้้าทะเลที่หนุนสูง
ขึ้นมา ปัญหาน้้าทะเลหนุนเป็นสาเหตุน้้าท่วมที่ส้าคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาน้้าท่วมครั้งใหญ่ในพื้นที่
กรุงเทพฯ เช่น ปี พ.ศ. 2548 (วิรัตน์ ท้าทอง, 2548) และ พ.ศ. 2554 (ธนาคารแห่งประเทศไทย,
2554) ขณะเดียวกัน นอกจากการหนุนของน้้าทะเลจะมีส่วนท้าให้เกิดน้้าท่วมแล้ว ความเค็มจากน้้า
ทะเลหนุนยังสามารถแผ่กระจายและครอบคลุมพื้นที่น้้าจืดเดิมซึ่งมีผลให้น้้าใช้ (น้้าประปาหรือน้้า
บาดาล) มีระดับความเค็มเพิ่มขึ้น ดังนั้น เมื่อน้าน้้าดังกล่าวมาใช้ประโยน์ย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้
งานนั้น ๆ ทั้งนี้ ปัญหาที่พบ เช่น