Page 74 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 74
57
แผนภูมิที่ 4.2 ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศ (มิลลิเมตร) ของไทยย้อนหลัง 30 ปี
ที่มา: ส้านักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้้าโขงแห่งชาติไทย (2563)
2) ปริมาณน าบาดาล
ในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีน้้าบาดาลทั้งหมด 27 แอ่ง กรมทรัพยากรน้้าบาดาลมีสถานี
สังเกตการณ์น้้าบาดาลจ้านวน 864 สถานี มีจ้านวนบ่อ 1,524 บ่อ (ส้านักงานคณะกรรมการข้อมูล
ข่าวสารของราชการ, 2560) ขณะที่ปริมาณน้้าบาดาลที่กักเก็บในปี พ.ศ. 2561 และ 2562 มีปริมาณ
ใกล้เคียงกันคือประมาณ 1.14 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2562 สามารถจ้าแนกปริมาณน้้า
บาดาลที่กักเก็บรายภูมิภาคได้ดังตารางที่ 4.5 โดยภาคกลางมีปริมาณน้้าบาดาลที่กักเก็บสูงสุด
ประมาณ 4.13 แสนลูกบาศก์เมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 36.3 ของปริมาณน้้าบาดาลที่กักเก็บทั้งประเทศ
จากข้อมูลปริมาณน้้าบาดาลที่กักเก็บทั้งสองปีแสดงให้เห็นว่า ระดับน้้าบาดาลของประเทศไทย
ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงน้อย โดยระดับน้้าบาดาลชั้นตื้นความลึกไม่เกิน 50 เมตรในพื้นที่ภาคกลางมีการ
เปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับปริมาณน้้าฝน ขณะที่พบว่าในบางจังหวัด เช่น สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร
นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง มีการสูบใช้น้้าบาดาลระดับตื้นเพื่อท้านาใน
ปริมาณสูงและต่อเนื่องจึงส่งผลให้ระดับน้้าบาดาลในช่วงปี พ.ศ. 2559-2562 ลดลงเฉลี่ย 0.4-0.75
เมตรต่อปี ส้าหรับระดับน้้าบาดาลในเมืองใหญ่ที่ชุมชนหนาแน่นหรือเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมใน
บางจังหวัด เช่น เชียงใหม่-ล้าพูน ขอนแก่น สงขลา และนครราชสีมา ซึ่งระดับน้้าบาดาลมีแนวโน้ม