Page 73 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 73
56
4.2 สถานการณ์และปัญหาด้านทรัพยากรน าของประเทศไทย
นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงประสบปัญหาด้านทรัพยากรน้้าอย่างต่อเนื่อง ทั้ง
ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้้าท่วม ตลอดจนปัญหาคุณภาพของน้้า อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านทรัพยากรน้้า
ต่าง ๆ เริ่มเป็นที่ตระหนักและหลายภาคส่วนได้เล็งเห็นความส้าคัญของปัญหาเหล่านั้นโดยมีวิกฤตน้้าท่วม
เมื่อปี พ.ศ. 2554 เป็นตัวกระตุ้นเนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหลายพื้นที่ที่ไม่เคยประสบภาวะน้้า
ท่วมมาก่อน ขณะเดียวกันด้วยเทคโนโลยีทางอุตุนิยมวิทยาที่ทันสมัยส่งผลให้ประชาชนทั่วไปสามารถ
เข้าถึงข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาได้สะดวก รวดเร็วและทันต่อเวลามากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถเข้าถึงการ
รับแจ้งสภาวะการเตือนภัยต่าง ๆ ที่มีสาเหตุจากน้้าได้แม่นย้าและรวดเร็ว ดังนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากปัญหาทรัพยากรน้้าของประเทศไทยอาจลดความรุนแรงลงด้วยศักยภาพการป้องกันและการ
เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น
4.2.1 ศักยภาพทรัพยากรน าในประเทศ
1) ปริมาณน าฝน
พื้นที่ประเทศไทยประกอบด้วย 25 ลุ่มน้้าหลัก มีพื้นที่ประมาณ 514,008 ตารางกิโลเมตร
หรือ 321.2 ล้านไร่ สภาพพื้นที่ตั้งอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือน
พฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ส่งผลให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ
1,455 มิลลิเมตร หรือมีความผันแปรตามพื้นที่ระหว่าง 900-4,000 มิลลิเมตรต่อปี (ส้านักงาน
ทรัพยากรน้้าแห่งชาติ, 2562) ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศ 30 ปีย้อนหลัง พบว่า
ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศค่อนข้างแปรปรวนโดยมีทั้งปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศสูง
กว่าหรือต่้ากว่าค่าปกติ (แผนภูมิที่ 4.2) หรือในปี พ.ศ. 2561 พบว่าประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้ง
ประเทศสูงถึง 2,017.1 มิลลิเมตร (ส้านักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้้าโขงแห่งชาติไทย, 2562)
จากนั้นในปี พ.ศ. 2562 ลดลงเหลือ 1,343.4 มิลลิเมตร (ส้านักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้้าโขง
แห่งชาติไทย, 2563)