Page 43 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 43

31



                       ขณะที่ Esfahani M.A. et al. (2006) ได้น้ารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพภายใต้ทฤษฎีการต่อรองของ
                       เนช (Nash bargaining theory) เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในการจัดสรรทรัพยากรน้้าทั้งในแม่น้้า

                       และอ่างเก็บน้้าทางตอนใต้ของประเทศอิหร่าน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการ

                       จัดสรรทรัพยากรน้้าดังกล่าวสามารถน้ามาใช้ได้จริงโดยพิจารณาจากความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องและผู้
                       มีส่วนได้เสียจากการด้าเนินการจัดสรรทรัพยากรน้้า

                              ส่วนในประเทศกานา Gyamfi C. et al. (2013) ได้ศึกษาการป้องกันความขัดแย้งและกลไก

                       การจัดการทรัพยากรน้้าในเขตพื้นที่อ่างเก็บน้้าแบล็ค โวลตา (Black Volta Basin) ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว
                       อยู่ในเขตกึ่งแห้งแล้ง ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้น จึงเป็นเหตุให้

                       ทรัพยากรน้้าที่มีอย่างจ้ากัดมีความส้าคัญต่อการด้าเนินชีวิตของประชากรบริเวณนั้น รวมถึงอาจ

                       ก่อให้เกิดความขัดแย้งต่อการแย่งชิงการใช้ทรัพยากรน้้าด้วยเช่นกัน จากการจัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม
                       การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลส้าคัญ และผลการตอบแบบสอบถาม พบว่า ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ระหว่าง

                       เกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชและผู้เลี้ยงสัตว์ โดยเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นควรเป็นผู้ให้ค้าแนะน้าหรือให้

                       ค้าปรึกษาในการจัดการความขัดแย้งดังกล่าวแก่คู่กรณีภายในชุมชนนั้น ๆ ขณะที่ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                       ของชุมชนถือเป็นจุดแข็งหรือเป็นเอกลักษณ์ต่อการจัดการทรัพยากรน้้าที่สามารถด้าเนินการอย่าง

                       ได้ผล นอกจากนี้ อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่มีความส้าคัญต่อการขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรน้้า คือ

                       หน่วยงานท้องถิ่นและการเพิ่มบทบาทของชุมชนสู่การขับเคลื่อนสามารถลดความขัดแย้งในการ
                       จัดการทรัพยากรน้้าด้วยเช่นกัน ส่วนในประเทศไทย Apipalakul C. et al. (2015) ได้ศึกษา

                       พัฒนาการการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการความขัดแย้งในทรัพยากรน้้า พบว่า ความขัดแย้งใน

                       ทรัพยากรน้้า (ล้าน้้าพอง จังหวัดขอนแก่น) มีสาเหตุจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้้าทั้งเพื่อ
                       การเกษตรในเขตชลประทาน การใช้น้้าของชุมชน และอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันน้้าในล้าน้้าพองเริ่ม

                       เน่าเสียจึงส่งผลต่อคุณภาพน้้าในการใช้ประโยชน์ต่อ ดังนั้น ทางออกส้าหรับการแก้ไขความขัดแย้ง

                       และจัดการทรัพยากรน้้าดังกล่าว ผู้เกี่ยวข้องทั้งสามภาคส่วนอันประกอบด้วย รัฐ เอกชน
                       (ภาคอุตสาหกรรม) และชุมชนควรด้าเนินการจัดท้าข้อตกลงการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้้านั้นร่วมกัน

                              โดยสรุป จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในทั้งแนวคิดด้าน “สิทธิชุมชน” “การ

                       บริหารจัดการน้้า” และแนวทาง “สันติวิธี” พบว่าการให้สิทธิแก่ชุมชนในการบริหารและจัดการ
                       ทรัพยากรน้้านับเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับระดับสากลและไทยได้ให้การรับรองไว้ในกฎหมายของ

                       ประเทศ ซึ่งเป็น แนวทางที่สามารถลดความขัดแย้งได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือนับเป็นการจัดการแบบ

                       “สันติวิธี” อันน้าไปสู่หนทางความส้าเร็จอย่างยั่งยืนในการจัดสรรทรัพยากรน้้า ซึ่งเห็นได้ว่าแม้ใน
                       ระดับนโยบายจะมีการส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามาร่วมจัดการทรัพยากรน้้า ประกอบกับกฏหมายต่าง ๆ

                       ได้รับรองสิทธิของชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรอย่างรอบด้าน รวมถึงการถือปฏิบัติตาม
                       อนุสัญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ดังนั้น การศึกษาในระดับพื้นที่เพื่อส้ารวจสถานการณ์การปฏิบัติ
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48