Page 39 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 39
27
2.4 บทบาทของชุมชนพื นที่ต้นน ากับการจัดการทรัพยากรน า
ส้านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (2555) รายงานว่า การจัดการต้นน้้าของประเทศไทยจะ
ประสบความส้าเร็จนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการป่ามากยิ่งขึ้น
ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตผู้คน ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมุ่งให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความเข้าใจที่
สอดคล้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบยั่งยืนต่อจากรากฐานชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น
โดยมีหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นฝ่ายกระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
สิ่งส้าคัญคือจะต้องกระจายภาระหน้าที่การมีส่วนร่วม การตัดสินใจ การจัดการ การควบคุม การฟื้นฟู
และแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปสู่ชาวบ้านและองค์กรชุมชนเป็นหลัก สอดคล้องกับ
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (2562) ที่พบปัญหาจากการจัดท้ารายงาน (ร่าง) แผนสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565) ด้านสิทธิชุมชน วัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งพบว่าแม้ประเทศ
ไทยจะมีกรอบกฎหมายรองรับสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ แต่จากการลงพื้นที่
ระดมความคิดเห็นจากประชาชนและการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรระหว่าง
ประเทศและองค์กรอิสระกลับพบปัญหาในทางปฏิบัติอันเกิดจากการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายและ
ความอ่อนแอของการบังคับใช้กฎหมายซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชนและการไม่เคารพ
ต่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองของชุมชน โดยหนึ่งในแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
คือ ส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ต่อการมีส่วนร่วม การประเมิน
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการด้าเนิน
โครงการ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการออกมาตรการเฝ้าระวัง บ้ารุงรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริม
ให้มีการจัดท้ากลไกไกล่เกลี่ยในระดับชุมชนเพื่อรองรับการเจรจาข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐที่
อาจส่งผลกระทบต่อชุมชน
ขณะที่ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้้าและการเกษตร (องค์การมหาชน) (2557) ได้ให้แนวทาง
การจัดการทรัพยากรน้้าชุมชนในพื้นที่ต้นน้้าโดยชุมชน กล่าวคือ พื้นที่ต้นน้้าควรด้าเนินการฟื้นฟูและ
อนุรักษ์ป่าต้นน้้าเพื่อแก้ปัญหาต้นน้้าถูกท้าลาย ไฟป่า และน้้าไม่เพียงพอต่อการท้าการเกษตร
โดยเยาวชนและชาวบ้านร่วมกันสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น สร้างแนวป้องกันไฟป่า รวมถึงให้
ความส้าคัญต่อกระบวนการเรียนรู้โดยลงมือท้าแล้วขยายแนวคิดการจัดการทรัพยากรน้้าสู่เครือข่าย
ลุ่มน้้าของชุมชน ทั้งนี้ ตัวอย่างความส้าเร็จของการจัดการทรัพยากรน้้าชุมชนในเขตพื้นที่ต้นน้้า เช่น
- เครือข่ายลุ่มน้้าแม่ละอุป อ้าเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มของชุมชนปกา เกอะ ญอ
ได้ร่วมกันดูแลรักษาป่าต้นน้้าของลุ่มน้้าแม่ละอุปก่อนไหลลงสู่แม่น้้าปิง ด้วยการใช้ประเพณีและ
วัฒนธรรมของชาวปกา เกอะ ญอ อาศัยอยู่ร่วมกับป่า มีฝายภูมิปัญญา (ฝายปกา เกอะ ญอ) ช่วยดัก