Page 40 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 40

28



                       ตะกอนและชะลอการไหลของน้้า มีป่าสะดือป้องกันการตัดไม้ท้าลายป่าต้นน้้า ทั้งนี้ เครือข่ายลุ่มน้้า
                       แม่ละอุปมีกฎ กติกาในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ แบ่งการใช้น้้า

                       ของล้าห้วยต่าง ๆ เพื่อใช้อุปโภค บริโภค และท้าการเกษตรอย่างชัดเจน ได้แก่ ห้วยแม่ละอุปใช้ท้า

                       การเกษตร ห้วยหล่าขลื่อโล๊ะใช้บริโภค และห้วยทอกลอโกล๊ะเป็นแหล่งเรียนรู้เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
                       รวมทั้งยังคงรักษาเส้นทางน้้าหรือล้าเหมืองเดิมเพื่อน้าน้้าเข้าพื้นที่นา และมีปริมาณน้้าเพียงพอใช้ท้า

                       โรงสีข้าวพลังงานน้้า จากผลการด้าเนินการดังกล่าวท้าให้เครือข่ายลุ่มน้้าแม่ละอุปได้รับรางวัลรอง

                       ชนะเลิศ การประกวดการจัดการทรัพยากรน้้าชุมชน ตามแนวพระราชด้าริในปี พ.ศ. 2551 (สถาบัน
                       สารสนเทศทรัพยากรน้้าและการเกษตร (องค์การมหาชน), 2557)



                       2.5 ตัวอย่างการจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้วยชุมชนตามแนวทางสันติวิธี
                              จากการตระหนักถึง “สิทธิชุมชน” ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

                       2560 ที่ช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้มีผลในทางปฏิบัติ และ

                       บทบาทของชุมชนท้องถิ่นในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงกับทรัพยากรธรรมชาตินั้น ๆ ทดแทนการ
                       บริหารบ้านเมืองแบบบนลงล่างที่นโยบายการตัดสินใจมาจากส่วนกลางซึ่งไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาความ

                       เสื่อมโทรมของทรัพยากรและแก้ไขความขัดแย้งต่าง ๆ ลงได้ รัฐจึงตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน

                       ในการจัดการทรัพยากร และให้ประโยชน์แก่ชุมชนในการเข้าถึงฐานทรัพยากรอย่างยุติธรรม และ
                       ยอมรับความสามารถของชุมชนในการจัดการทรัพยากรเหล่านั้น นอกจากสิทธิชุมชนที่ได้รับการ

                       คุ้มครองจากรัฐธรรมนูญฯ แล้ว ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

                       (Sustainable Development Goals - SDGs) ตามข้อก้าหนดของสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้เข้า
                       ร่วมลงนามโดยเป็น 1 ใน 48 ประเทศแรกที่ให้การรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                       (Universal Declaration of Human Rights) ส่งผลให้ประเทศไทยได้ประกาศใช้ แผนสิทธิมนุษยชน

                       แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565) ซึ่งให้ความส้าคัญต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึง
                       ทรัพยากรน้้าที่ก้าหนดให้พัฒนาระบบการจัดการน้้าให้เพียงพอและยั่งยืนโดยมุ่งส่งเสริมการสร้างจิตส้านึก

                       และความเข้มแข็งของชุมชนและปัจเจกบุคคลในการจัดการแหล่งน้้าและบ้าบัดน้้าเสีย (กรมคุ้มครอง

                       สิทธิและเสรีภาพ, 2562) ดังกล่าวจึงก่อให้เกิดการขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน
                       ท้องถิ่นขึ้นในหลายภูมิภาคของประเทศไทยด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่รูปแบบการจัดการที่นิยม

                       น้ามาใช้และสามารถพบเห็นได้ในการศึกษาวิจัยโดยทั่วไป คือ การจัดการตามหลักสันติวิธีที่สามารถ

                       ลดข้อขัดแย้งได้อย่างเป็นธรรมหรือเป็นที่ยอมรับแก่คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ ตัวอย่างงานวิจัยด้านการ
                       จัดการทรัพยากรธรรมชาติด้วยชุมชนตามหลักสันติวิธี เช่น
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45