Page 45 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 45
33
บทที่ 3
วิธีด าเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยนี้ ประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยคณะนักวิจัยร่วมกับ
ภาคประชาสังคมในพื้นที่ ประกอบด้วย องค์กรด้านการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้น้าชุมชน
ตั้งแต่ขั้นตอนการมีส่วนร่วมในออกแบบการวิจัยในพื้นที่ การร่วมลงมือปฏิบัติการวิจัย และการร่วม
วิเคราะห์ สรุปผล จัดท้าเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสิทธิการใช้น้้าในชุมชน ซึ่งคณะนักวิจัยจะเน้นท้า
ความเข้าใจและเชิญชวนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมกับกระบวนการวิจัยในพื้นที่
ทั้งนี้ วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลและองค์ความรู้จากพื้นที่ คณะวิจัยจะด้าเนินการศึกษาทั้งการวิจัยเชิง
ปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในกลุ่มประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการใช้แหล่งน้้าสาธารณะเพื่อ
หาแนวทางลดความขัดแย้งเรื่องของสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรน้้าและสิทธิบริหารจัดการน้้าในพื้นที่ใน
เชิงนโยบาย ซึ่งเน้นกระบวนการหาทางลดความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธี และน้าเสนอแนวทางใน
การบริหารจัดการน้้าร่วมกัน (Co-management)
3.1 พื นที่ท าการวิจัยและเกณฑ์การเลือกพื นที่
คณะผู้วิจัยพิจารณาเลือกกลุ่มพื้นที่โดยศึกษาจากพื้นที่ลุ่มน้้าที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับ
ผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรน้้าเป็นวงกว้าง โดยได้คัดเลือกพื้นที่ลุ่มน้้าส้าคัญที่มี
ผลกระทบต่อวิถีการด้าเนินชีวิตของประชากรในหลายจังหวัด ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแบ่งเป็น 2 พื้นที่ที่ประสบปัญหาแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การมีปัญหาด้าน
การเข้าถึงการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรน้้า ปัญหาการได้รับผลกระทบจากโครงการจัดการทรัพยากร
น้้าขนาดใหญ่ เป็นต้น โดยการคัดเลือกพื้นที่เป็นกรณีศึกษา คณะผู้วิจัยได้ท้าการคัดเลือกจากรายการ
ในข้อก้าหนดขอบเขตงานจ้างที่ปรึกษา (Terms of Reference: TOR) ซึ่งได้ระบุให้คัดเลือก
1
กรณีศึกษาซึ่งเป็นต้นน้้าอย่างน้อยใน 2 ลุ่มน้้าที่ก้าหนดไว้จ้านวน 25 ลุ่มน้้า จากรายงานมาตรฐานลุ่มน้้า
1 จากพระราชกฤษฎีกาก้าหนดลุ่มน้้า พ.ศ. 2564 ให้ก้าหนดลุ่มน้้าของประเทศไทย เป็น 22 ลุ่มน าได้แก่ 1) ลุ่มน้้า
สาละวิน 2) ลุ่มน้้าโขงเหนือ 3) ลุ่มน้้าโขงตะวันออกเฉียงเหนือ 4) ลุ่มน าชี 5) ลุ่มน้้ามูล 6) ลุ่มน้้าปิง 7) ลุ่มน้้าวัง
8) ลุ่มน้้ายม 9) ลุ่มน าน่าน 10) ลุ่มน้้าเจ้าพระยา 11) ลุ่มน้้าสะแกกรัง 12) ลุ่มน้้าป่าสัก 13) ลุ่มน้้าท่าจีน 14) ลุ่มน้้า
แม่กลอง 15) ลุ่มน้้าบางปะกง 16) ลุ่มน้้าโตนเลสาบ 17) ลุ่มน้้าชายฝั่งทะเลตะวันออก 18) ลุ่มน้้าเพชรบุรี –
ประจวบคีรีขันธ์ 19) ลุ่มน้้าภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน 20) ลุ่มน้้าทะเลสาบสงขลา 21) ลุ่มน้้าภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ตอนล่าง และ 22) ลุ่มน้้าภาคใต้ฝั่งตะวันตก