Page 48 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 48
36
การวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้แบ่งวิธีการเก็บข้อมูลเป็น 2 วิธีคือ
3.2.1 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่
วิจัยโดยใช้แบบสอบถาม จ้านวน 800 ตัวอย่าง พื้นที่ละ 400 ตัวอย่าง โดยคณะวิจัยร่วมมือกับองค์กร
ภาคประชาสังคม (CSOs) สถาบันการศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ในพื้นที่ตามแนวทางการ
วิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม (PAR) ทั้งแนวทางการท้าวิจัย การวางแผนและเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลในเชิงนโยบาย
1) ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยในชุมชนพื้นที่ลุ่มน้้าที่ศึกษาและเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียกับการใช้แหล่งน้้าธรรมชาติต้นน้้าน่านในภาคเหนือตอนบน และในพื้นที่ต้นน้้าลุ่มน้้าชีในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต้นน้้าทั้งสองพื้นที่
เนื่องจากเป็นกลุ่มส้าคัญในการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้้า และเป็นกลุ่มประชากรที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรน้้ามากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ทั้งในแง่การอนุรักษ์
และการได้รับผลกระทบจากสภาพความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ต้นน้้า ประกอบด้วย ประชากรในพื้นที่
ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ประชาชนทั่วไป องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ และ
หน่วยงานภาคเอกชนในพื้นที่และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัท ห้างร้าน เป็นต้น
2) การสุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ครั้งนี้คือประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
โดยเก็บข้อมูลชุมชนที่อยู่ใกล้แหล่งต้นน้้ามากที่สุด ในพื้นที่ต้าบลไหล่น่านและต้าบลกลางเวียง อ้าเภอ
เวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งแม้ว่าจุดก้าเนิดพื้นที่ต้นน้้าอยู่ในเขตเทือกเขาหลวงพระบางใน สปป. ลาว
ก่อนที่จะไหลผ่านอ้าเภอบ่อเกลือ ซึ่งถือเป็นจุดแรกที่แม่น้้าไหลผ่านชุมชนแรกในประเทศไทย ก่อนที่
ลงมาสู่เขตอ้าเภอเมืองและอ้าเภอเวียงสา อย่างไรก็ตาม จากการทบทวนข้อมูลเบื้องต้นจากศูนย์
ป้องกันวิกฤติน้้า กรมทรัพยากรน้้า ได้อ้างจุดต้นน้้าของลุ่มน้้าน่านในฝั่งประเทศไทยเกิดขึ้นที่อ้าเภอ
เวียงสา เนื่องจากล้าน้้าน่านไหลมารวมกับล้าน้้าสาขาคือแม่น้้าสาและแม่น้้าว้าในเขตพื้นที่ต้าบลไหลน่าน
อ้าเภอเวียงสา กลายเป็นแม่น้้าขนาดใหญ่ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้เลือกกลุ่มตัวอย่างในเขตพื้นที่อ้าเภอ
เวียงสาเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ประกอบกับข้อจ้ากัดด้านการเข้าพื้นที่ในเขตอ้าเภอบ่อเกลือที่
ปกคลุมด้วยภูเขา พื้นที่เขตอ้าเภอเวียงสาจึงเป็นจุดน้ามาพิจารณาในฐานะเป็นจุดยุทธศาสตร์ส้าคัญที่
ก่อให้เกิดผลกระทบกับชุมชนมากที่สุด ส่วนพื้นที่ลุ่มน้้าชี มีจุดก้าเนิดบนเทือกเขาเพชรบูรณ์ในเขต
อ้าเภอเกษตรสมบูรณ์ แต่ได้ไหลผ่านพื้นที่ชุมชนต้าบลนางแดด อ้าเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
เป็นชุมชนแรกที่ได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้้าและได้รับผลกระทบจากแม่น้้าชีก่อนพื้นที่อื่น ๆ
คณะผู้วิจัยจึงได้เลือกพี้นที่ดังกล่าวในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างของลุ่มน้้าชี
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างค้านวณโดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane’, 1973 :
727-728) ดังรายละเอียดต่อไปนี้