Page 42 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 42

30



                       ห้วยหินลาด อ้าเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาพบว่า การจัดการป่าชุมชนทั้งสามชุมชน
                       มีแนวคิดว่าทรัพยากรธรรมชาติภายในพื้นที่ป่าชุมชนเป็นของส่วนรวม มิใช่ของบุคคลหรือของกลุ่มใด

                       กลุ่มหนึ่ง จัดการโดยคณะกรรมการป่าชุมชนประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นประชาชนภายในชุมชนมีการ

                       ก้าหนดกติกาจัดการ และใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน ด้วยเงื่อนไขว่ากติกาจะต้องผ่านการประชุมพูดคุย
                       แลกเปลี่ยนกันระหว่างชาวบ้านจนได้รับการยอมรับร่วมกันจึงจะสามารถตั้งเป็นกฎกติกาป่าชุมชนขึ้นใช้

                       บังคับได้ อย่างไรก็ตาม การจัดการป่าชุมชนทั้ง 3 ชุมชนยังพบปัญหา คือ (1) ปัญหาด้านนโยบายจาก

                       ส่วนกลางที่มีการปรับเปลี่ยนตามยุคของรัฐบาลที่เปลี่ยนไป หากชุมชนหรือประชาชนสับสนกับ
                       นโยบายของรัฐอาจน้าไปสู่การขัดแย้งได้ อีกทั้งรัฐยังขาดแนวนโยบายการกระจายอ้านาจจาก

                       ส่วนกลางให้กับชุมชนในการให้ชุมชนมีสิทธิในการจัดการ การบ้ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จาก

                       ทรัพยากรธรรมชาติ (2) ปัญหาคณะกรรมการป่าชุมชนไม่มีกฎหมายรองรับให้อ้านาจหน้าที่จัดการ
                       และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ (3) ปัญหาด้านกฎหมายการจัดตั้งป่าชุมชนยังไม่มีกฎหมาย

                       เฉพาะรับรอง ในปัจจุบันอาศัยกฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507  พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484

                       (ขึ้นอยู่กับกรณีนั้น ๆ) ซึ่งมีข้อจ้ากัดในการด้าเนินการหลายประการ ขาดความคล่องตัวในการ
                       ด้าเนินงาน และยังมีข้อจ้ากัดในการส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมกับรัฐอนุรักษ์ จัดการ บ้ารุงรักษา

                       และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชุมชน และ (4) ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับคนใน

                       ชุมชน กรณีป่าชุมชนอยู่ในเขตป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายป่าไม้ เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย
                       อย่างเข้มงวด ขณะที่ชุมชนจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากป่าชุมชนตามวิถีชีวิตที่ผูกพันกับ

                       ทรัพยากรธรรมชาติมาแต่อดีต เจ้าหน้าที่มองว่าวิถีชีวิตชุมชนขัดต่อกฎหมายป่าไม้จึงท้าให้เกิดปัญหา

                       ความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อขัดแย้งเกิดจากฐานแนวคิดของชุมชนกับรัฐในการจัดการ
                       ทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกัน เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนในการเข้าถึง การจัดการ การใช้ประโยชน์

                       จากฐานทรัพยากรธรรมชาติระหว่างรัฐ หน่วยงานรัฐเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนโดยรัฐบาลซึ่งเป็นผู้

                       ก้าหนดนโยบายมีแนวคิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอยู่บนฐานความเชื่อว่า หากปล่อยให้
                       ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปโดยไม่มีการควบคุมจากรัฐ ทรัพยากรธรรมชาตินั้นจะถูกใช้จนหมดสิ้น

                       เพราะไม่มีใครสนใจดูแลรักษา และผู้ใช้แต่ละคนก็จะพยายามใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนั้นให้มาก

                       ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
                              ส้าหรับงานศึกษาในต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น Boakye M.K. and Akpor O.B. (2012)

                       ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรน้้าของแอฟริกาใต้ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชน

                       ผู้ด้อยโอกาส (disadvantaged communities) ยังไม่สามารถระบุความมุ่งหวังต่อการจัดการ
                       ทรัพยากรน้้าที่แท้จริงของตนเองได้ เช่นเดียวกับที่องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่ได้รับความไว้วางใจ

                       จากชุมชนต่อการจัดการทรัพยากรน้้าซึ่งอาจมีสาเหตุจากการขาดการติดต่อประสานงานที่ดีระหว่าง
                       องค์กรและชุมชน อันส่งผลให้การมีส่วนร่วมต่อการจัดการทรัพยากรน้้ายังไม่ประสบความส้าเร็จ
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47