Page 41 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 41

29



                              กมลรัตน์ พรหมสิงห์ และอุทิศ สังขรัตน์ (2557) ศึกษาศักยภาพในการจัดการป่าต้นน้้า
                       เทือกเขาบรรทัดในจังหวัดตรัง เพื่อศึกษากระบวนการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้้าของชุมชน และ

                       วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนในการจัดการป่าต้นน้้า รวมถึงเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้

                       น้าไปก้าหนดนโยบายที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติมาก
                       ยิ่งขึ้น เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชน เนื่องจากรัฐมักจะมองว่าชุมชนเป็นผู้ที่ท้าลาย

                       ทรัพยากรธรรมชาติ จากการศึกษาพบว่า ชาวบ้านในชุมชนนาชุมเห็ดมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับธรรมชาติ

                       คนกับป่ามีลักษณะความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีวิธีการดูแลรักษาป่า
                       ผ่านระบบความรู้ ความเชื่อ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมต่าง ๆ ของชุมชน มีกระบวนการจัดการ

                       ทรัพยากรโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในชุมชน นอกจากนี้ ชุมชนยังมีจิตส้านึกในการอนุรักษ์

                       ทรัพยากรป่าต้นน้้า โดยมองเห็นถึงความส้าคัญของป่าต้นน้้าว่าหากขาดป่า ขาดน้้า ย่อมส่งผลกระทบ
                       ต่อชุมชนที่อยู่ปลายน้้าต่อไป จากการศึกษาวิจัยนี้ท้าให้มองเห็นถึงศักยภาพของชุมชนในการจัดการ

                       ทรัพยากรป่าต้นน้้า ทั้งนี้การจัดการทรัพยากรป่าต้นน้้านั้นจะต้องเกิดจากการร่วมมือกันอย่างเป็นพหุ

                       ภาคี ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชาวบ้านในชุมชน ที่ควรจะเข้ามามีส่วนในจัดการทรัพยากรร่วมกัน
                       อย่างบูรณาการเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดความยั่งยืนและการจัดการป่าต้นน้้าเป็นไปอย่างมี

                       ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

                              พิมรดา มณีอินทร์ (2558) ศึกษาสิทธิชุมชนในการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้าน
                       โนนตูมถาวร อ้าเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่า ป่าชุมชนบ้านโนนตูมถาวรถือเป็นผู้

                       ทรงสิทธิ ชุมชน ถูกจ้ากัดสิทธิในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า และมาตรการทางกฎหมายของประเทศ

                       ไทยไม่เอื้ออ้านวยในการใช้สิทธิชุมชน กฎหมายป่าไม้ยังมีความบกพร่องบางประการ กล่าวคือไม่
                       สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่ได้ให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของชุมชน รัฐจึงจ้าเป็นต้องทบทวนว่าการ

                       บังคับใช้กฎหมายเหล่านั้นมีผลดีผลเสียอย่างไร ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงขอบเขตของสิทธิและเพิ่มเติม

                       ปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายให้มีการก้าหนดประเด็นของสิทธิชุมชนลงในกฎหมายเพื่อให้เกิดความ
                       ชัดเจน ลดปัญหาการตีความที่คลาดเคลื่อนไปจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่าการศึกษานี้ได้

                       ด้าเนินการภายใต้การให้สิทธิ์แก่สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

                       แต่พบว่าผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาของ ชาติชาย วิริยะเจริญกิจ และสุรัสวดี แสนสุข
                       (2560) ที่รายงานว่า การให้สิทธิชุมชนของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พุทธศักราช 2560 ยังขาดความชัดเจน

                       ในการบัญญัติการรับรองสิทธิชุมชนเพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การ

                       ขับเคลื่อนเพื่อรักษาสิทธิของชุมชนยังเป็นสิ่งจ้าเป็นในประเทศไทย
                              อรทัย อินต๊ะไชยวงค์ และบรรเจิด สิงห์คะเนติ (2562) ศึกษาสิทธิชุมชนในการจัดการ

                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนต่อการจัดการป่าชุมชนของชุมชนคลองห้วย
                       หวาย อ้าเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ ชุมชนต้าบลแม่ทา อ้าเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ และชุมชน
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46