Page 47 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 47

35



                              ลุ่มน  าชี เป็นแม่น้้าสายที่ยาวที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีประชากร
                       หนาแน่นมากที่สุด มีพื้นที่ลุ่มน้้ารวมทั้งสิ้น 49,131.92 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 16 จังหวัด

                       ประชากรเกือบทั้งพื้นที่ของจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อาศัยลุ่มน้้านี้เพื่อการประกอบอาชีพ

                       การเกษตร แม่น้้านี้จึงเป็นเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงคนทั้งภูมิภาคนี้ และยังเป็นแหล่งน้้าธรรมชาติที่
                       สร้างผลผลิตให้ประชากรเกือบทั้งหมดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                              3. พิจารณาจากสภาพการใช้สิทธิในการบริหารจัดการน้้า เมื่อพิจารณาจากสภาพพื้นที่ทั้ง

                       สองภูมิภาคแล้ว ประชากรทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นับเป็นกลุ่มประชากรที่มี
                       พื้นฐานทางประวัติศาสตร์และการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับการให้ความส้าคัญกับแหล่งน้้า

                       ธรรมชาติที่มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นมรดกทางความคิดต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้้าที่สืบทอด

                       กันมาตั้งแต่อดีต ประชากรทั้งสองภูมิภาคสามารถอยู่กับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืนและเกื้อกูลกัน
                       มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและความเชื่อที่เป็นของตนอันเป็นจุดเด่นในการบริหารจัดการน้้าที่มี

                       แนวทางของชุมชนมายาวนาน ดังนั้น เมื่อการบริหารจัดการน้้าให้อ้านาจแก่ภาครัฐเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ

                       พระราชบัญญัติทรัพยากรน้้า ปี พ.ศ. 2561 ที่พยายามจะลดบทบาทชุมชนท้องถิ่นในด้านการบริหาร
                       จัดการทรัพยากรน้้าและให้อ้านาจภาครัฐเพิ่มขึ้นในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้้า ซึ่งขัดกับความเชื่อ

                       ในการบริหารจัดการน้้าของชุมชนท้องถิ่นที่เป็นจุดแข็งของประชากรทั้งสองภูมิภาคอย่างชัดเจน

                       เพื่อเป็นการยืนยันถึงสิทธิของชุมชนในความสามารถด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้้าที่เป็นความเชื่อ
                       มาตั้งแต่อดีต จึงเป็นเหตุผลส้าคัญประการหนึ่งที่คณะผู้วิจัยได้คัดเลือกพื้นที่ในการศึกษาประชากรทั้ง

                       สองภูมิภาคเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ส้าคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรน้้าตามแนวทางสันติวิธี เพราะ

                       ประชากรทั้งสองภูมิภาคแสดงให้เห็นตั้งแต่ในอดีตมาแล้วในประเพณีความเชื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการ
                       ดูแลทรัพยากรน้้าที่ส่งผลต่อความยั่งยืนทรัพยากรน้้าและทรัพยากรธรรมชาติแบบองค์รวมในอนาคต



                       3.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล
                              ส้าหรับประชากรกลุ่มเป้าหมาย คณะผู้วิจัยเลือกประชากรที่อาศัยในบริเวณพื้นที่ต้นน้้าของ

                       ทั้งสองลุ่มน้้า ซึ่งหากประชากรในพื้นที่ต้นน้้าได้รับผลกระทบจากสิทธิการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ใน

                       ทรัพยากรน้้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่ต้นน้้าไปด้วย เมื่อประชากรในพื้นที่
                       ต้นน้้าได้รับผลกระทบจากสิทธิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากแหล่งที่เขาอยู่อาศัยแล้วประชาชนก็

                       ย่อมไม่เห็นถึงความส้าคัญต่อการรักษาแหล่งน้้าบริเวณพื้นที่ต้นน้้า อันจะเป็นผลกระทบเป็นทอด ๆ

                       ต่อกันไปถึงประชากรในพื้นที่กลางน้้าและปลายน้้า ที่พึ่งพาอาศัยลุ่มน้้านั้นในการด้ารงชีวิต โดยเฉพาะ
                       ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง และ

                       ปัญหาน้้าท่วมอยู่เป็นประจ้า ท้าให้ประชากรที่ได้รับผลกระทบมีจ้านวนมาก
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52