Page 30 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 30
18
และน้้า การสร้างสิ่งกีดขวางทางน้้า การปล่อยมลพิษลงสู่แม่น้้าล้าคลอง การขาดแหล่งเก็บกักน้้าที่
เพียงพอ และการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ฯลฯ โดยสถานการณ์เหล่านี้ได้ส่งผลให้
ทรัพยากรน้้าของประเทศไทยประสบปัญหาที่ส้าคัญ ดังนี้ (ส้านักงานทรัพยากรน้้าแห่งชาติ, 2562)
1) ปัญหาการขาดแคลนน้้า ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งหลายครั้ง
ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรและความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก
ทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยผลผลิตทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ ภัยแล้งครั้งรุนแรง
ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2522 2537 และ 2542 เกิดเป็นบริเวณกว้างในเกือบทุกภาคของประเทศ ช่วง 10 ปี
ที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2548 - 2557) มีพื้นที่แล้งซ้้าซากเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝน
ไม่ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในระดับต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ สภาพดิน ปริมาณฝน
โดยพื้นที่เสี่ยงภัยในระดับรุนแรง (เกิดมากกว่า 6 ครั้ง/10 ปี) และระดับปานกลาง (เกิด 4 - 5 ครั้ง/10 ปี)
มีพื้นที่รวมประมาณ 26.8 ล้านไร่ ส้าหรับปัญหาการขาดแคลนน้้าเพื่อการอุปโภคบริโภค พบว่าหมู่บ้านทั้ง
ประเทศไทย (ปี พ.ศ. 2560) จ้านวน 75,032 หมู่บ้าน มีปัญหาหมู่บ้านที่ไม่มีระบบประปา 256 หมู่บ้าน
ระบบประปาช้ารุดและขาดประสิทธิภาพ 20,034 หมู่บ้าน จากภาพที่ 2.1 แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ที่มี
ความเสี่ยงต่อภัยแล้งของประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอยู่ในระดับรุนแรง
ภาพที่ 2.1 พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งซ้้าซาก ปี พ.ศ. 2548 – 2556
ที่มา: ส้านักงานทรัพยากรน้้าแห่งชาติ (2562)